วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่7การจัดการข้อมูล

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
๑.จำแนกประเภทของหน่วยข้อมูลได้
ตอบ๑.บิต
๒..อักขระ
๓. ไบต์
๔..ฟิลด์
๕.เรกคอร์ด
๖ไฟล์
๗.ฐานข้อมูล
๒. อธิบายประเภทแฟ้มข้อมูลได้
ตอบ๑.แฟ้มข้อมูลหลัก เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ แฟ้มข้อมูลบัญชี เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี
๒.แฟ้มรายการปรับปรุง เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

๓.อธิบายลักษณะของการประมวลผลได้
ตอบวิธีการประมวลผล (Processing Technique) การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการประมวลผลทางธุรกิจนั้นมีวิธีการประมวลผลได้หลายแบบดังนี้
1. การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยผู้ใช้จะทำการรวบรวมเอกสารที่ต้องการประมวลผลไว้เป็นชุดๆ ซึ่งแต่ละชุดอาจจะกำหนดเท่ากับเอกสาร 10 หรือ 20 รายการหรือมากกว่าก็ได้แต่ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วป้อนข้อมูลดังกล่าวสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงใช้คำสั่งให้ประมวลผลพร้อมกันที่ละชุดตัวอย่าง บริษัทหนึ่งอาจจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อออกบิลโดยมีการรวบรวมใบสั่งซื้อจากลูกค้าภายในหนึ่งวันจากแผนกขาย จากนั้นก็ส่งให้แผนกคอมพิวเตอร์ทำการป้อนข้อมูลและตรวจสอบความ ถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะเก็บบันทึกไว้ จากนั้นก็จะนำข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล ซึ่งอาจจะต้องอาศัยแฟ้มข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการประมวลผล เช่น แฟ้ม ข้อมูลสินค้าคงเหลือ แฟ้มข้อมูลลูกหนี้ กรณีลูกค้าซื้อเงินเชื่อและแฟ้มประวัติลูกค้า เป็นต้น จากนั้นก็จะนำข้อมูล ดังกล่าวไปประมวลผล ซึ่งอาจจะต้องอาศัยแฟ้มข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการประมวลผล เช่น แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ แฟ้ม ข้อมูลลูกหนี้ กรณีลูกค้าซื้อ เงินเชื่อและแฟ้มประวัติลูกค้า เป็นต้น จากนั้นจึงออกบิลเพื่อส่งต่อให้กับผู้ขายเพื่อเบิกสินต้าที่แผนกพัสดุ สินค้าหรือโกดัง (Warehouse) พิจารณา แสดงข้อดีและข้อเสียของการประมวลผลแบบชุด
รูปแสดงขั้นตอนการรวบรวมบิลเป็นชุดก่อนประมวลผลแบบชุด
้ข้อดีของการทำงานแบบชุด
ข้อเสียของการทำงานแบบชุด
1. เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณงาน มากแต่ไม่จำเป็นต้องบริการข้อมูลทันทีทันใด
1. เสียเวลาในการข้อมูลที่ต้องการทันทีทันใด อาจจะไม่ทันสมัย(Update) เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลจะทำเป็นช่วงๆ ปรับปรุงในกรณีที่มีรายการ ปรับปรุงน้อยเพราะจะต้องอ่านทุกรายการจนกว่า จะถึงรายการที่ต้องการปรับปรุง
2. ง่ายต่อการตรวจสอบ หากข้อมูลผิดพลาด สามารถตรวจสอบเฉพาะชุดของข้อมูลที่ผิดพลาด
2. เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ก่อนจะทำการ ประมวลผล


2. การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive)
หมายถึง การทำงานในลักษณะที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา เช่น กรณีที่ลูกค้า นายวัลลภ คลองหก จากบริษัทราชมงคล จำกัด ติดต่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผนกขาย เจ้าหน้าที่พนักงานขายจะต้องป้อนรหัสลูกค้าเพื่อเรียกประวัตินายวัลลภขึ้นมาพิจารณาว่าในขณะนี้ได้สั่งซื้อสินค้าเกินวงเงินเครดิตหรือไม่ ถ้าไม่เกินก็อนุมัติการขายแต่ถ้าหากเกินก็อาจจะให้ชำระเป็นเงินสด จากนั้นจะมีการตรวจสอบแฟ้มสินค้าคงคลังว่ามีสินค้าดังกล่าวหรือไม่เพื่อตัดสต็อก (Stock) แล้วพิมพ์บิลเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า แสดงการทำงานการออกบิลโดยการประมวลผลแบบโต้ตอบ

้ข้อดีของการทำงานแบบโต้ตอบ
ข้อเสียของการทำงานแบบโต้ตอบ
1. สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ป้อนทันทีทันใดด
1. โอกาสผิดพลาดมีมากกว่าวิธีแบบชุดเนื่องจากการ ตรวจทานที่หน้าจอภาพอาจจะทำให้ผู้ตรวจตาลาย
2. สารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที
2. การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยากกว่า
3. ได้รับผลลัพธ์ที่ทันสมัย
3. การประมวลผลแบบออนไลน์ (Online processing) คือ การประมวลผลร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ ต่อพ่วงกับระบบสื่อสาร (Communication) โดยอาศัยอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น โมเด็ม (Modem) ซึ่งลักษณะการทำงานอาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อพ่วงกันในระบบเครือข่าย (Network) ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ ขนาดกลางหรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กันแต่สามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันได้โดยมีการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างกัน ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์เราอาจจะสร้างเครือข่ายในลักษณะเครือขายเฉพาะ (Local Area Network(LAN) ซึ่งเป็นเครือข่ายใกล้ๆ หรืออาจสร้างเครือข่ายงานกว้าง [Wide Area Network(WAN) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันมากแต่เชื่อมต่อกันได้โดยระบบ โทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์หรือดาวเทียม ในเชิงธุรกิจกรณีที่พนักงานขายอยู่ต่างจังหวัดและจะส่งใบสั่งซื้อของลูกค้า เข้ามาที่สำนักงานใหญ่ก็สามารถทำได้โดยส่งข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์แล้วพิมพ์บิลทีสำนักงาน จากนั้นก็จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าตามใบสั่ง
๔.จำแนกความแตกต่างของโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภทได้
ตอบ แบ่งออกได้ ๓ ลักษณะคือ
๑.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ เป็นรุปแบบโครงสร้างพื้นบ้านที่สามารถใช้งานง่ายที่สุด
๒.โครงสร้างแฟ้มข้อมุลแบบสุ่มเป้นรูปแบบโครงสร้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
๓.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบลำดับดัชนี เป้นรูปแบบโครงสร้างที่รวมความสามารถของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับรับข้อมุลแบบสุ่มไว้ด้วยกัน
๕.จำแนกความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลได้
ตอบ แฟ้มข้อมูลจะมีการประมวลผลในแต่ละประเภทที่รู้แตกต่างกันออกไป แต่ระบบฐานข้อมูลจะประมวลที่ละหลายๆแฟ้มข้อมูลพร้อมกันเลย
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.ครูนำเอกสารตัวอย่างที่มีการกรอกข้อมูลไว้แล้ว หรือยกตัวอย่างข้อมูล เช่น ข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนแต่ละวิชาในชั้นเรียน แล้วให้เรียนตอบคำถามรายบุคคล โดยให้ดูจากข้อมูล แล้วตอบว่าส่วนใดคือฟิลด์ เรกคอร์ดไฟล์ หรือไบต์
ตอบ รหัสประจำตัวบัตรประชาชนคือ ฟิลด์ข้อมูลคือ เรกคอร์ดไฟล์ข้อมูลของเราคือ ไบต์
๒.ให้นักเรียนตอบคำถามเป็นรายบุคคล เมื่อครูยกตัวอย่างกรณีศึกษาว่า ถ้าต้องการนำข้อมูลนักเรียนนั้นไปจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับงานทะเบียน ในการบันทึกผลคะแนนให้แก่นักเรียนแต่ละบุคคล และสำหรับงานปกครอง เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูล นักเรียนที่มาสาย ลา หรือขาดเรียน เราควรจะประมวลผลข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลหรือแบบฐานข้อมูล
ตอบ แบบแฟ้มข้อมูล เพราะ เป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย
๓.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องทำการสำรองข้อมูล และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองโดยอุปกรณ์ใดบ้าง และปัจจัยในการเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดใดสำหรับสำรองข้อมูล
ตอบ เราต้องทำข้อมูลสำรองเพราะ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับข้อมูล เมื่อข้อมูลเหล่านั้นเสียหายหรือสูญเสีย ก็สามารถนำข้อมูลสำรองมาใช้แทนได้อุปกรณ์ที่ใช้สำรองข้อมูล คือ ฮาร์ดดิสก์

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้บทที่ ๕

๑.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตโดยให้หาความหมายของคำว่า open source และให้บอกซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ทที่รุ้จักในปัจจุบันมา ๓ ชนิด


ตอบ โอเพนซอร์ซ หรือ โอเพนซอร์ส (open source) คือวิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ โดยโอเพนซอร์ซถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โดยโอเพนซอร์ซเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป


ภาษาเพิร์ล เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp
ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.10.0 (ออกเมื่อเดือนธันวาคม 2007)
มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ และไคลเอนต์สำหรับโกเฟอร์และเอฟทีพี ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 2 รองจากอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552)
ไฟร์ฟอกซ์ใช้
เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว[9] โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ)
ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 3.6 ออกเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA
ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษา



ลินุกซ์ โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน
เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น
ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพกการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ
ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft






๒.ให้นักเรียนค้นหาซอฟท์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทยและให้บอกคุณสมบัติของซอฟท์แวร์ดังกล่าว


ตอบไอดิโอเทคฯ พัฒนา “ซอฟต์แวร์บริหารเครือข่ายอัจฉริยะ” แก้ปัญหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในอาคารใหญ่

ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตนับเป็นแหล่งความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อสื่อสารที่โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจ และ “อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ก็เกิดจากการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านั้นได้สะดวกยิ่งขึ้นกลุ่มคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงอดีตวิศวกรคอมพิวเตอร์ จึงมาร่วมกันจัดตั้ง บริษัท ไอดิโอเทค จำกัด ขึ้นเมื่อปี 2546 ด้วยปณิธานที่ว่า “อยากมีส่วนที่ทำให้ความรู้ไปถึงกลุ่มคนต่างๆ มากขึ้น” โดยสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งประกอบด้วย กฤษดา ทองเปล่งศรี, พงศ์พันธ์ ด่านพิษณุพันธ์ และพงศิศ เจริญ ซึ่งทั้ง 3 คน ร่วมกันเป็นกรรมการบริษัทฯบริษัท ไอดิโอเทค จำกัด เป็นผู้ให้บริการ ให้คำปรึกษา และติดตั้ง บริหาร จัดการดูแลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ผู้ใช้บริการภายในอาคาร อาทิ องค์กร โรงแรม คอนโดมิเนียม และ อพาร์ตเม้นต์หรือหอพัก สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้โดยง่ายและไม่สิ้นเปลืองคู่สัญญาณโทรศัพท์ภายใน รวมทั้งสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก โดยคุณภาพของสัญญาณมีความเร็วสม่ำเสมอ เสถียร ไร้ปัญหาสายหลุด และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อทั้งนี้ กฤษดา ทองเปล่งศรี หนึ่งในกรรมการ บริษัท ไอดิโอเทค จำกัด เล่าถึงจุดเริ่มต้นให้ฟังว่า จากอดีตที่เคยเป็นนักศึกษาหอพักมาก่อน และเคยประสบหลากหลายปัญหาจากการใช้อินเทอร์เน็ตของทางหอพักที่มีผู้ใช้งานพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก จึงได้มีแนวคิดในการแก้ปัญหาการใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ที่อยู่ในอาคารต่างๆการใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในอาคารมีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประสบปัญหาการแบ่งปันความเร็วในการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต (Internet Speed Sharing ) ที่มีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก โดยมีความเร็วไม่เท่ากันและไม่สม่ำเสมอ เพราะมักมีผู้ใช้งานส่วนหนึ่งดาวน์โหลดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา ทำให้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ต้องสูญเสียไปหรือตกไปอยู่ที่กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ใช้งานกลุ่มที่เหลือไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วน ถึงแม้ว่าทางเจ้าของอาคารหรือองค์กรจะพยายามแก้ปัญหาโดยการเช่าสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วที่สูงมากขึ้น 2 หรือ 3 เท่าแล้ว ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด อีกทั้งยังทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายต่อปีเป็นมูลค่าสูงโดยไม่จำเป็นแล้วหรือแม้แต่การนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) จากต่างประเทศมาช่วยควบคุมคุณภาพการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาได้ แต่อุปกรณ์เหล่านั้นมีราคาแพงและรูปแบบการปรับความเร็วยังมีจำกัด ไม่เหมาะต่อการทำ Quality of Services ที่สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งต้องแก้ปัญหาในเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม ไม่ใช่ความเร็วในการต่อเชื่อมที่ไม่เพียงพอดังนั้น บริษัทฯ จึงได้คิด “พัฒนาระบบโปรแกรมบริหารจัดการและควบคุมทรัพยากรอินเทอร์เน็ตที่มีความสามารถสูง” ขึ้นทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จากต่างประเทศที่มีราคาสูง โดยการพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจาก โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)โดยทาง iTAP ได้สนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายสำหรับ นายกรพรหม ถิระวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการเกษตรและการจัดการทรัพยากร ที่เข้ามาให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรมระบบบริหารจัดการและควบคุมทรัพยากรอินเทอร์เน็ตจนประสบผลสำเร็จ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทฯสำหรับคุณสมบัติของซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จากต่างประเทศที่มีราคาแพง (เฉลี่ยประมาณหลักแสนบาท) ขณะที่ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมีราคาถูกกว่า (เฉลี่ยประมาณหลักหมื่นบาท) แล้ว ยังมีคุณสมบัติการใช้งานมากกว่า อาทิ สามารถควบคุมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้อยู่ในความเร็วที่คงที่สม่ำเสมอ มีระบบจัดรูปแบบการใช้งานอินเทอร์เน็ต คือ สามารถจัดรูปแบบการบริการอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ที่ต้องการใช้ความเร็วที่สูงกว่าห้องอื่นๆ ได้ โดยไม่ไปรบกวนความเร็วการใช้อินเทอร์เน็ตของคนอื่น นอกจากนี้ ยังมีระบบการคิดราคา ระบบการออกรายงาน และระบบการตรวจสอบ หรือ Network Monitor Bandwidth ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ฮาร์ดแวร์ไม่มีดร.ศิริชัย กิตติวราพงศ์ ที่ปรึกษาเทคโนโลยี โครงการ iTAP ให้ความเห็นว่า ระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าว บริษัทใหญ่ๆ เช่น ไมโครซอฟต์หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทยไม่สามารถที่จะเข้ามาเป็นผู้ให้บริการและดูแลในรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ได้ จึงเป็นช่องว่างที่ให้ บริษัท ไอดิโอเทค จำกัด สบโอกาสทางการตลาดเข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์ทดแทนการใช้ฮาร์ดแวร์เป็นรายแรกของไทย เรียกได้ว่าเป็น “ระบบฉลาด หรือ ระบบอัจฉริยะ” ที่ทำให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถล็อคความเร็วได้ ทำให้ผู้ใช้บริการยินดีจ่ายในราคาที่เท่ากันหรืออาจจะแพงขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการความเร็วที่สูงขึ้นอีก ซึ่งระบบนี้สามารถการันตีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของผู้ใช้แต่ละคนว่าจะได้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอคงที่แน่นอน นอกจากนี้ ยังได้ถูกพัฒนาในรูปแบบ Zero Configuration หรือไม่ต้องปรับตั้งค่าใดๆ ก็ใช้งานได้เลย เพื่อรองรับการใช้งานของโน๊ตบุ๊คจากภายนอกเข้ามาใช้ภายในอาคารที่ทางไอดิโอเทคทำระบบให้ โดยสามารถเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการเซ็ตหรือแก้ไขค่าใดๆ สำหรับโปรแกรมท่องเน็ตอีก ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวหรือนักธุรกิจต่างประเทศที่ต้องเดินทางตลอดเวลา ในอนาคตยังสามารถให้บริการกับเครือข่ายไร้สายได้อีกด้วย ถือเป็นระบบที่สามารถให้บริการได้หลายรูปแบบ จึงเป็นเรื่องที่ดีช่วยลดการรั่วไหลเงินออกนอกประเทศได้อย่างมหาศาล และมองว่าเจ้าของอาคารต่างๆ จะสามารถให้บริการเข้าอินเทอร์เน็ตถึงห้องพักได้อย่างดี เป็นบริการที่ส่งเสริมธุรกิจได้โดยตรง

๓.ให้นักเรียนค้นหาข้อมุลความรุ้เกี่ยวกับธุรกิจซอฟท์แวร์ที่ได้บังคับใช้ในปัจจุบัน

คือลิขสิทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆโดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์สนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง[1]
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
Commercial ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่มุ่งในเรื่องการค้า เพราะการจะได้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทCommercial ware มาใช้นั้นผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้Commercial ware มีการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์อย่างเต็มที
Share ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เปิดโอกาสให้มีการทดลองใช้ก่อน เมื่อผู้บริโภคสนใจที่จะใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้น เจ้าของโปรแกรมหรือ ผู้พัฒนาโปรแกรมจะทำการเก็บเงินในการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นๆ[3][4]Share ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นเดียวกับ Commercial ware
Ad ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี แต่ก็มีการเก็บเงินบ้างเป็นบางครั้ง บวกกับการโฆษณาบนเว็บไซต์[5] Ad ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นกัน
Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าตอบแทนแต่อย่างได้ และสามารถนำโปรแกรมประเภทFree wareส่งต่อให้ผู้อื่นใช้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่มีการนำโปรแกรมนั้นไปขาย[6] Free ware มีการคุ้มครองน้อยหรือมีการคุมครองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันพัฒนาโปรแกรมประเภทOpen sourceได้อีกด้วยโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก่ไขโปรแกรมนั้นๆ

๔.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ของซอฟท์แวรืต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอนซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่เห้นด้วยอย่างไร

ตอบ เห็นด้วย เพราะซอฟท์แวร์ที่เราเรียนอยู่นั้นได้เกิดจากความคิดของผู้พัฒนา

บทที่ ๖ ระบบปฏิบัติการ

๑.บอกความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ

ตอบ ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างการทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

หน้าที่หลักของระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย ๓ หน้าที่หลักได้แก่ การติดต่อกับผู้ใช้ การควบคุมอุปกรณ์และการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และการจัดสรรทรัพยากรภายในระบบ

๒.จำแนกประเภทของระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ

๑.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแกผู้ใช้เพียงผู้เดียว

๒.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย เป็นระบบการปฏิบัติการที่รองรับการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบการทำงานแบบ Multi-user ใช้สำหรับการปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือ หน่วยงานทั่วๆไป
๓.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง
๓.อธิบายองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ๑.การจัดการไฟล์
๒.การจัดการหน่วยความจำ
๓.การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล
๔.การจัดการกับหน่วยประเมินผลกลาง
๕.การจัดการความปลอดภัยของระบบ

๔.บอกระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันได้
ตอบ ปัจจุบันมีระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมชนิดต่างๆได้แก่ ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลินุกซ์ แมคอินทอช



กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

๑.ในระบบปฏิบัติการ window 7 มีระบบ License ทั้งในแบบ FPP และ OEM License ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และถ้านักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานภายในบ้านนักเรียนจะต้องใช้รูปแบบ License แบบใด

ตอบ FPP สามารถย้ายข้อมูลจากเครื่องเก่าไปยังเครื่องใหม่ได้ OEM ไม่สามารถย้ายข้อมูลไปเครื่องใหม่ได้และถ้าจะซื้อก็จะซื้อแบบ FPP เพราะ ถ้าเครื่องเก่าเสียหายก็สามารถย้ายข้อมูลใส่เครื่องใหม่ได้

๒.ให้นักเรียนเสนอความคิดว่า การเก็บค่าลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการWindows จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค และมีวิธีหลีกเลี่ยงค่าลิขสิทธิ์หรือไม่ อย่างไร

ตอบ มี คือ ด้านค่าใช้จ่าย ไม่มีวิธีหลีกเลี่ยงค่าลิขสิทธิ์ เพราะ แต่ละลิขสิทธิ์ก็ล้วนแต่มีเจ้าของลิขสิทธิ์

๓.ให้นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นว่า การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของคนไทย เมื่อในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าดูแลพัฒนาซอฟต์แวร์ในสายพันธุ์ไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เองแต่ยังมีปัญหาเรื่องของการเผยแพร่และนำมาใช้งานอย่างจริงจัง นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้คนไทยมาร่วมกันใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย และจะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประเทศในอนาคต

ตอบ จัดนิทรรศการให้มีการแข่งขันพัฒนาซอฟท์แวร์โดยคนไทยขึ้น และจัดนิทรรศการให้เยี่ยมชมเป็นความรู้




กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

การเปรียบเทียบลักษณะต้นน้อยหน่ากับคน

การเปรียบเทียบลักษณะต้นน้อยหน่ากับคน

การเปรียบเทียบด้านรูปร่าง
ด้านเหมือน

1.ลำต้นเปรียบเสมือนลำตัวที่คอยพยุงไม่ให้ล้มเมื่อเจอลมพายุ

2.ใบเปรียบเสมือนปากที่คอยสังเคราะห์แสงให้พลังงานแก่ต้น

3.ผลเปรียบเสมือนพลังงานในร่างกายที่ได้รับอาหารแล้วเก็บสะสมไว้

4.รากเปรียบเสมือนขาที่คอยยึดลำต้นให้คงอยู่

ด้านต่าง

1.ลำต้นต่างจากลำตัวของมนุษย์คือมีผนังเซลล์คอยป้องกันแต่มนุษย์ไม่มี

2.ใบต่างจากปากของมนุษย์คือสังเคาระห์แสงเมื่อมีแสงเท่านั้นแต่มนุษย์ได้รับอาหารตามที่ต้องการ
3.ผลต่างจากพลังงานในร่างกายคือเก้บพลังงานไว้โดยไม่มีการใช้พลังงานแต่มนุษย์ใช้ตลอดเวลา
4.รากต่างจากขาของคนคือหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว

เปรียบเทียบด้านจิตใจ
ด้านเหมือน
1.ดอกเปรียบเสมือนเสน่ห์ของมนุษย์ถ้าสวยก็จะมีแต่คนมารุมจีบเหมือนแมลงที่มาตอมดอกไม้
ด้านต่าง
1.ดอกต่างจากมนุษย์คือดอกไม้จะกลายเป็นผลแต่เสน่ห์ของมนุษย์ไม่สามารถที่จะกลายเป็นอย่างอื่นได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ซอฟท์แวร์(software)กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มเติมให้นักเรียน

๑.บอกความหมายและประเภทของซอฟท์แวร์ได้


ตอบ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ต้องการ


สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ซอฟท์แวร์ระบบ ซอฟท์แวร์ประยุกต์


๒.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้


ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนามาหลายยุคเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมจัดแบ่งภาษคอมพิวเตอร์ออกเป็น ๕ ยุคตั้งแต่ยุคที่ ๑-๕โดยภาในยุคที่๑จะจัดอยู่ในภาระดับต่ำเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องทำให้สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงและพัฒนารูปแบบของภาษคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเรื่อยๆจนกระทั่งในยุคที่ ๕ เป็นรูปแบบภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษามนุษยมากขึ้นหรือที่เรียกว่าภาษาธรรมชาติ

๓.อธิบายรูปแบบของตัวแปลภาษาได้

ตอบ แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง

อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัดตลอดทั้งโปรแกรมทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็วแต่ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลโดยการใช้อินเตอร์พรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้จะจะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน

♦ คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลนั้นสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้นำไปใช้ในการทำงานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีของคอมไพเลอร์ที่จะนำผลที่ได้จากการแปลนั้นไปใช้งานกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้เป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโคดไปเป็นรหัสชั่วคราวหรืออินเทอมีเดียตโคด (Intermediate code)ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรมในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้นโดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องที่มีโปรแกรมตีความได้ทันที

การเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

การเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

ในการศึกษาทางอนุกรมวิธานพืช มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บตัวอย่างพรรณไม้และเก็บรักษาไว้เพื่อการศึกษา วิธีเก็บรักษาตัวอย่างวิธีที่ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดคือ การอัดแห้ง แม้ว่าการอัดแห้งจะทำให้ความสวยงามของตัวอย่างพรรณไม้ลดลง แต่ก็ยังคงคุณค่าทางวิทยาศาสตร์สามารถเก็บไว้ศึกษาได้นานเป็นร้อยปี ถ้าได้มีการจัดทำและเก็บรักษาอย่างถูกวิธี

ประโยชน์ของการเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

1.1 เป็นหลักฐานว่าในแต่ละท้องถิ่นมีพืชชนิดใดบ้าง
1.2 เป็นข้อมูลให้ทราบว่าในแต่ละช่วงเวลามีพืชชนิดใด
1.3 ทำให้สามารถศึกษาพืชนั้น ๆ ได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นช่วงฤดูเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะพืชป่าหรือพืชที่หายาก
1.4 มีข้อมูลจากป้ายบันทึกที่ติดอยู่บนตัวอย่างมากกว่าที่ศึกษาจากต้นพืช
1.5 ตัวอย่างพืชที่อัดแห้งและทราบชื่อที่ถูกต้องแล้ว เรียกว่า ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ herbarium specimen ซึ่งบางคนอาจเรียกย่อ ๆ ว่า herbarium ( พหูพจน์ herbaria ที่จริงแล้วคำนี้หมายถึงสถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ พิพิธภัณฑ์พืช นั่นเอง ) สามารถใช้อ้างอิงได้เหมือนหนังสือ

การเก็บและอัดตัวอย่างพรรณไม้
2.1 อุปกรณ์
1) แผงอัดพรรณไม้( plant press ) ขนาด 30 x 46 ซม. หรือ 12 x18 นิ้ว 1 คู่ (ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ไผ่ สานกันเป็นตาราง ตอกตะปูยึดให้ติดกัน)
2) เอกสำหรับรัดแผงอัด 2 เส้น ( นิยมใช้เชือกไส้ตะเกียง )
3) กรรไกรตัดกิ่งไม้หรือมีด
4) กระดาษอัดพรรณไม้ นิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นคู่พับครึ่งสำหรับวางตัวอย่างพรรณไม้ที่จะอัด
5) กระดาษลูกฟูก หรือกระดาษกล่อง ใช้สำหรับคั่นระหว่างตัวอย่างพรรณไม้แต่ละชิ้นเพื่อให้พรรณไม้เรียบ และระบายความชื้นได้ดี
6) ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ – เล็ก พร้อมยางรัดปากถุง
7) สมุดบันทึกและป้ายหมายเลขผูกตัวอย่างพรรณไม้

2.2 วิธีการเก็บ
1) เลือกกิ่งที่มีใบ ดอก และผล ( ถ้ามี )ที่สมบูรณ์ที่สุด 2 – 3 กิ่ง ต่อพรรณไม้ 1 ชนิด แล้วใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หรือมีดคม ๆ ตัด
2) ถ้าเป็นพืชมีใบเดี่ยวควรตัดกิ่งมาด้วย ถ้าเป็นใบประกอบต้องตัดมาให้หมดทั้งใบจะตัดมาเฉพาะใบย่อยไม่ได้
3) ถ้าเป็นพรรณไม้ล้มลุกควรเก็บถอนมาทั้งรากและต้น ถ้ามีความยาวเกินขนาดของแผ่นกระดาษ เวลาอัดอาจพับใบและต้นให้มีลักษณะคล้ายรูป L M N V หรือ W ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม
4) ระหว่างตัด เก็บตัวอย่าง ควรผูกป้ายหมายเลขลำดับประจำตัวอย่างไว้ด้วย พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดลงในสมุดบันทึกดังนี้
· ท้องที่ที่เก็บ ( Locality ) บันทึกรายละเอียดของจังหวัด อำเภอ ตำบล ถนน หรือท้องที่ป่า
· ความสูงจากระดับน้ำทะเล( altitude ) โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าอัลติมิเตอร์ ( altimeter )
· วันเดือนปีที่เก็บ ( date )
· ชื่อพื้นเมือง ( Local name )
· ข้อมูลอื่น ๆ ( note ) ลักษณะของพืชที่ ลักษณะวิสัยของพืช ความสูงของต้น ลักษณะของพืชที่อาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อตัวอย่างแห้ง เช่น สี กลิ่น เป็นต้น พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่นนั้น ๆ
· ชื่อผู้เก็บ (collector ) และหมายเลขที่เก็บ ( collecting number ) แต่ละคนจะใช้หมายเลขของตนเรียงลำดับติดต่อกันไป

2.3 วิธีการอัดแห้ง
นำตัวอย่างพรรณไม้มาทำความสะอาด แล้ววางลงบนด้านในของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่พับครึ่งไว้ จัดแต่งให้สวยงามให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ถ้าต้องตัดใบ หรือกิ่งย่อยที่เกินออก ควรตัดเหลือโคนใบหรือโคนกิ่งไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาในภายหลัง จัดให้ใบและดอกคว่ำบ้าง หงายบ้าง จากนั้นจึงปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก ทำซ้อน ๆ กัน เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดตัวอย่าง หรือตั้งสูงพอประมาณ ก็ปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูกทั้งด้านบนและด้านล่าง ก่อนที่จะปิดด้วยแผงอัดพรรณไม้ เสร็จแล้วใช้เชือกรัดให้แน่น นำไปตากแดดโดยการตั้งแผงอัดพรรณไม้ขึ้น ถ้าแดดจัดตัวอย่างพรรณไม้จะแห้งภายใน 3 – 5 วัน หรืออาจจะนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 40- 60 องศาเซลเซียส ประมาณ 48 ชั่วโมง ระหว่างนี้ต้องหมั่นเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันมิให้ตัวอย่างตายนึ่ง เน่า หรือเกิดเชื้อราได้
อนึ่งถ้าตัวอย่างพรรณไม้มีดอกขนาดใหญ่ควรผ่าครึ่งดอกตามยาว ผลที่มีขนาดใหญ่ควรตัดผลเป็นแผ่นตามยาวหรือตามขวางแล้วจึงค่อยนำไปทำให้แห้ง จะช่วยให้แห้งได้เร็วขึ้นส่วนของกลีบดอกที่บางมาก ๆ ควรวางในกระดาษไข เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกติดบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ในกรณีที่พรรณไม้มีดอกและใบติดบนกิ่งที่มีขนาดใหญ่เมื่ออัดแห้งเสร็จแล้วดอกและใบมักร่วงหลุดออกจากกิ่ง เนื่องจากถูกแรงอัดของแผงอัดหรือดอกและใบไม่เรียบเนื่องจากมีกิ่งหนุนอยู่ ทำให้แผ่นใบและกลีบดอกไม่ได้ถูกทับให้เรียบ ดังนั้นเมื่ออัดตัวอย่างประเภทนี้ จึงควรใช้กระดาษพับเป็นชิ้นให้มีขนาดและความหนาพอดีที่จะหนุนให้ใบและดอกอยู่ระดับเดียวกับกิ่งที่มีขนาดใหญ่นั้น จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
ถ้าไม่สามารถอัดตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาได้ให้เสร็จในคราวเดียวกันควรรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในถุงพลาสติกที่ใส่น้ำไว้ในก้นถุงเล็กน้อยและเป่าลมให้ถุงพองออก รัดปากถุงด้วยยางรัดให้แน่นเก็บไว้ในที่ร่มหรือในตู้เย็นได้ 1 – 2 วัน แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรอัดและทำให้แห้งทันทีหลังจากที่เก็บมาแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 – 6 ชม. เพราะอาจทำให้ตัวอย่างเน่าเสียหายได้

2.4 การอาบน้ำยา
ก่อนที่จะนำตัวอย่างพรรณไม้ที่ทำให้แห้งแล้วไปติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้ควรอาบน้ำยาก่อนเพื่อป้องกันแมลงศัตรูมากัดทำลาย จะช่วยให้เก็บรักษาตัวอย่างพรรณไม้แห้งไว้ได้นาน
2.4.1. อุปกรณ์
1) อ่างเคลือบ หรือ อ่างพลาสติก ขนาด 12 x 20 นิ้ว 1 ใบ
2) ปากคีบพลาสติก หรือ ไม้ที่มีด้ามยาว 1 – 2 อัน
3) ถุงมือ 1 คู่ ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสน้ำยา
4) หน้ากากป้องกันกลิ่น
5) น้ำยาอาบพรรณไม้ ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้
ฟีนอล 20 มิลลิลิตร
เมอคิวริกคลอไรด์ 28 กรัม
แอลกอฮอล์ล 95 % 1 ลิตร

ข้อควรระวัง น้ำยาอาบพรรณไม้นี้เป็นพิษต่อร่างกาย ไม่ควรสูดดมหรือสัมผัสถูกร่างกาย เวลาใช้ควรใส่หน้ากากและถุงมือ หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะจะถูกน้ำยากัดจนเสียหายได้ และไม่ควรเทน้ำยาผ่านท่อระบายน้ำ
2.4.2 วิธีการ
1) เทน้ำยาอาบพรรณไม้ลงในอ่างเคลือบ
2) นำตัวอย่างพรรณไม้ที่แห้งสนิทดีแล้วแช่ลงในน้ำยาประมาณ 1 นาที ให้น้ำยาท่วมตัวอย่าง
3) ใช้ปากคีบ คีบตัวอย่างมาวางลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ วางเรียงซ้อนกัน แล้วคั่นและปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก นำเข้าแผงอัดพรรณไม้เหมือนตอนที่อัดตัวอย่าง
4) มัดแผงให้แน่น แล้วนำไปตากแดดหรืออบให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง

การติดตัวอย่างบนกระดาษติดพรรณไม้

เพื่อความคงทนถาวรของตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และเพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบในการเก็บรักษา ควรนำตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่อาบน้ำยาแล้วไปเย็บติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้ 2.5.1 อุปกรณ์
1) กระดาษติดพรรณไม้สีขาวขนาด 11.5 x 16.5 นิ้ว พร้อมปก
2) กระดาษป้ายบันทึกข้อมูล ขนาด 4 x 6 นิ้ว
3) ด้ายเส้นใหญ่ เข็ม หรือกาว 2.5.2 วิธีการ
1) เลือกตัวอย่างพรรณไม้ที่อาบน้ำยาและทำให้แห้งแล้วชิ้นที่ดีและครบสมบูรณ์ที่สุดของแต่ละชนิด มาวางบนกระดาษติดแผ่นไม้
2) จัดตำแหน่งให้เหมาะสม และสวยงาม อย่าให้มีส่วนของพืชเลยขอบกระดาษออกมา
3) ใช้เข็มเย็บตรึงด้วยด้ายเป็นระยะๆ บางตำแหน่งอาจใช้กาวอย่างดีติดตรึงไว้ก็ได้ เช่น แผ่นใบ กลีบดอก เมื่อกาวติดแล้วควรใช้วัตถุหนักๆ ทับเพื่อช่วยพรรณไม้ติดแน่นยิ่งขึ้น
ถ้าต้องการติดตัวอย่างพรรณไม้หลายชิ้นบนกระดาษแผ่นเดียวกัน ( ส่วนมากเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก) ควรติดให้อยู่ในทิศทางเดียงกันและควรติดชิ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทางด้านล่างของกระดาษ ถ้าเป็นตัวอย่างพืชที่มีส่วนของดอก ผล หรือ เมล็ดน้อย หายาก ขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย ให้บรรจุชิ้นส่วนดังกล่าวในซองที่ตัดและพับด้วยกระดาษสีขาวและติดซองนี้บนกระดาษติดแผ่นไม้ในตำแหน่งที่สวยงามและเหมาะสม
การติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้

หลังจากติดตัวอย่างพรรณไม้ลงบนกระดาษตอดพรรณไม้เรียบร้อยแล้ว จะติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ขนาดประมาณ 4 x 6 นิ้ว ที่มุมขวาด้านล่างของกระดาษติดตัวอย่างพรรณไม้ข้อมูลที่จะบันทึกลงบนป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ประกอบด้วย
1) หัวกระดาษ (heading) ชื่อหน่วยงาน จังหวัด ประเทศ
2) ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) พร้อมทั้งชื่อผู้ที่ตั้ง
3) ชื่อพื้นเมือง (local name)
4)สถานที่เก็บ(location,locality) ควรบอกให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การกระจายพันธุ์ ของพรรณไม้นั้น และในกรณีที่ต้องการตัวอย่างสดมาศึกษาวิจัยก็สามารถที่ติดตามแหล่งที่พืชนั้นเจริญอยู่ได้
5) วันเดือนปี ที่เก็บ ( date )
6) ลักษณะของพืชที่สังเกตเห็น (remark , note) เช่น
- habit ลักษณะของทรงพุ่ม เรือนยอด เปลือก ไม้ต้น ไม้ล้มลุก
- habitat ที่อยู่อาศัย ลักษณะสภาพของพื้นที่ที่พืชนั้นขึ้นอยู่

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานบูรณาการงานสวนพฤกษ์ศาสตร์

การทำตัวอย่างพรรณไม้ดอง

การนำตัวอย่างพืชที่เก็บได้นำไปแช่ในน้ำยาดองที่เหมาะสม น้ำยาที่นำมาดองนี้โดยทั่วไปนอกจากจะฆ่าเซลล์แล้ว ยังรักษาสภาพเซลล์ด้วย ชิ้นส่วนของพืชที่ดองไว้บางสูตรของน้ำยาสามารถที่จะนำสไลด์ถาวรได้ด้วย วิธีนี้ถ้าถ้าพืชขนาดเล็กอาจดองได้ทั้งต้น แต่ถ้าเป็นพืชขนาดใหญ่ก็จะใช้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น
น้ำยาดอง เป็นสารละลายที่มีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ ซึ่งมีสูตรต่างๆ กัน ให้คุณภาพและประสิทธิภาพไม่เหมือนกัน ที่นิยมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่

1. น้ำยาดองแบบธรรมดา
1.1 ฟอร์มาดีไฮด์ หรือ ฟอร์มาลิน 3-5%
สามารถใช้แช่ตัวอย่างได้ระยะเวลานานโดยไม่เปราะ ประกอบด้วย
ฟอร์มาดีไฮด์ 40 % 3-5 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 97-95 มิลลิลิตร
1.2 เอธิลแอลกอฮอล์ 70%
สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะจาง เซลล์เหี่ยว และเนื้อเยื่อเปราะ ประกอบด้วย
เอธิลแอลกอฮอล์ 70% 70 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 25 มิลลิลิตร
1.3 เอฟเอเอ(ฟอร์มาลิน อะซิติก แอลกอฮอล์)
ตัวอย่างที่ดองไม่สามารถรักษาสภาพสีเขียวไว้ได้ ประกอบด้วย
กรดอะซิติก 5 มิลลิลิตร
เอธิลแอลกอฮอล์ 95% 50 มิลลิลิตร
ฟอร์มาลิน 40 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 35 มิลลิลิตร
2. น้ำยาดองรักษาสภาพสี
2.1 การดองเพื่อรักษาสีเขียว ประกอบด้วย
ฟอร์มาลิน 40% 12 มิลลิลิตร
โซเดียมคลอไรด์ 4 กรัม
คอปเปอร์ซัลเฟต 1 กรัม
น้ำกลั่น 230 มิลลิลิตร
2.2 การดองเพื่อรักษาสีแดง ส้ม และเหลือง
ฟอร์มาลิน 40% 25 มิลลิลิตร
กลีเซอรีน 25 มิลลิลิตร

ซิงค์คลอไรด์ 50 กรัม
น้ำกลั่น 1000 มิลลิลิตร
2.3 การดองรักษาสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
โปแทสเซียมไนเตรต 30 กรัม
โซเดียมคลอไรด์ 90 กรัม
น้ำกลั่น 4500 มิลลิลิตร
คอปเปอร์ซัลเฟต 0.5 กรัม
ภาพตัวอย่างพรรณไม้ดอง




ภาพน้อยหน่าดองทั้งผล




ภาพน้อยหน่าผ่าตามยาว


ภาพน้อยหน่าผ่าตามขวาง












































































วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปลักษณะ











สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพื้นเมือง น้อยหน่า รหัสพรรณไม้ 7-30240-001-016
สภาพนิเวศน์ อยู่บนบก กลางแจ้ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย เป็นไม้พุ่ม ความสูง 2.3 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 1.2 เมตร รูปร่างทรงพุ่ม รูปไข่ ลำต้น เป็นลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงได้เอง ผิวลำต้นเรียบ เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นแก่สีน้ำตาลไม่มีน้ำยาง ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวแก่ ขนาดแผ่นใบกว้าง 5.2 เซนติเมตร ยาว 13.4 เซนติเมตร



ใบมีกลิ่นฉุน ใบเรียงสลับระนาบเดียว แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ



ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามลำต้นหรือกิ่ง ดอกสีเขียวแกมเหลือง กลีบเลี้ยงแยกกัน จำนวน 3 กลีบ สีเขียว กลีบดอกแยกกัน จำนวน 3 กลีบ สีเขียวแกมเหลือง กลีบดอกแยกกันรูปกากบาท



ผล เป็นผลสดแบบผลกลุ่ม ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่สีเขียวแกมเหลือง รูปร่างของผลรูปกลม เมล็ด มีจำนวนหลายเมล็ดต่อผล

งานสวนพฤกษ์ศาสตร์

7-30240-001-016/2

ชื่อพื้นเมือง น้อยหน่า
เตียบ (เขมร)
น้อยหน่า (ภาคกลาง)
น้อยแน่ (ภาคใต้)
มะนอแน่ มะแน่ (ภาคเหนือ)
มะออจ้า มะโอจ่า (เงี้ยว ภาคเหนือ)
ลาหนัง (ปัตตานี)
หน่อเล๊าะแซ (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)
หมักเขียบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa L.
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ Custard apple , Sugar apple , Sweet sop
ประโยชน์ ผลเป็นอาหารรับประทานได้ ใบใช้แก้เหา

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์


ฮาร์ดแวร์ (Hardware)หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ 4 หน่วยดังนี้
-หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
-หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)-หน่วยความจำ (Memory Unit)
-หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit)
หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคำสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลตามที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน
สำหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
- แป้นพิมพ์ (Keyboard)
- เมาส์ (Mouse)
- สแกนเนอร์ (Scanner)
- แทร็คบอล (Trackball)
- จอยสติ๊ก (Joystick)
- จอภาพสัมผัส (Touch Screen)
- กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ในการประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน
หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้น การคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุมหน่วยความจำหลักทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ
1. แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้
2.รอม (Read Only Memory : ROM) รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร
3.cache เป็นหน่วยความจำใช้บันทึกเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนส่งให้คอมพิวเตอร์ใช้และช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วหน่วยความจำสำรอง
- ใช้เป็นส่วนเพิ่มหน่วยความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก
โดยปกติแล้วหน่วยความจำสำรองจะมีความจุมากและมีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่า เช่น ฮาร์ดดิสก์, ฟลอบปี้ดิสก์หน่วยรับข้อมูล หรือ หน่วยนำเข้าข้อมูล มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นอุปกรณ์ ที่รับข้อมูล หรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล จึงเป็นหน่วยทำงานที่ช่วยให้ มนุษย์ สามารถติดต่อ สั่งงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ซอฟท์แวร์ระบบซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า
โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS)
วินโดวส์ (Windows)
โอเอสทู (OS/2)
ยูนิกซ์ (UNIX) ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ ซอฟท์แวร์ประยุกต์ การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร
หน่วยวัดความจุของแรม
-กิโลไบต์ KB 10^3
-เมกะไบต์ MB 10^6
-จิกะไบต์ GB 10^9
-เทระไบต์ TB 10^12
Data Communication คือ การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์Procedures คือ ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะบางอย่างจากคอมพิวเตอร์ประเภทคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. Super Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคํานวณมาก เช่น งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ งานพยากรณ์อากาศ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้มีราคาแพงมาก
2. Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร็ที่มีประสิทธิภาพตํ่ารองจาก Super computerและความเร็วในการประมวลผลสูง ส่วนใหญ่มักจะนํ าไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร สายการบิน บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย เป็นต้น
3. Mini Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลและความจุตํ่ากว่าระบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์จะทํางานโดยใช้ระบบผู้ใช้หลายคน (Multi-user system) มักจะใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก ส่วนใหญ่ที่นิยมนํามาประยุกต์ใช้งานกับบริษัทขนาดกลาง เช่น ระบบบัญชี
4. Micro Computer หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก นํ้าหนักเบา ราคาไม่แพง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล





1.สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก


จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่ใช้งานกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล และ มีราคาต่อหน่วยถูก หลักการที่จานแม่เหล็กใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูลคือการเปลี่ยนสถานะทางแม่เหล็กบนผิวของสื่อบันทึกข้อมูล โดยสถานะนั้นจะยังคงอยู่ตลอดเพื่อให้สามารถดึงขึ้นมาอ่านได้ใหม่ในภายหลัง และเนื่องจากจานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เข้าถึงข้อมูลแบบโดยตรง แต่ละด้านของแผ่นจาน (platter) จะมีการแบ่งแผ่นจานเป็นวงชั้นซ้อน ๆ กัน ซึ่งเรียกว่า track และแต่ละ track จะมีการกำหนดหมายเลขประจำไว้ และเมื่อต้องการใช้งานแผ่นดิสก์จะต้องนำแผ่นดิสก์นั้นไปผ่านกระบวนการฟอร์แมต (format) ก่อน ซึ่งเมื่อ format แล้วแผ่นจานจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเท่า ๆ กันในทุก track เหมือนกับการตัดเค้ก ซึ่งเราเรียกส่วนย่อยเหล่านี้ว่า sector และ ส่วนย่อยที่สุดที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ซึ่งเกิดจากการนำส่วนย่อยของ track ตั้งแต่ 2 – 8 track ขึ้นไป จะเรียกว่า clusterจานแม่เหล็กแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ - แผ่นดิสก์ (Diskette) หรือบางครั้งก็เรียกกว่า Floppy Disk ทำจากพลาสติก ทำให้มีน้ำหนักเบา แผ่นดิสก์ เหมาะสำหรับเก็บข้อมูล หรือ โปรแกรม ที่มีขนาดเล็ก ในปัจจุบัน แผ่นดิสก์ที่นิยมใช้มีขนาด 3.5 นิ้ว โดยยังมีความจุให้เลือกใช้งานหลายระดับได้แก่ Double density ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ 720 KB และแบบ High density ซึ่งเก็บข้อมูลได้ 1.44 MB ปัจจุบันได้มีการประยุกต์เพื่อให้มี Floppy Disk ที่มีความจุมากขึ้น เช่น ZIP Drive ของบริษัท iomega ซึ่งสามารถจุข้อมูลได้ 100 MB และ 250 MB หรือ Laser-Servo Drive(LS Drive) ที่สามารถจุข้อมูลได้ 120 MB และยังสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่น Floppy Disk ทั่วๆ ไปได้ และตอนนี้บริษัท Sony ได้พัฒนา HIFD Drive ขึ้นมาซึ่งสามารถจุข้อมูลได้ 200 MB และยังสามารถเข้าถึง ข้อมูลได้เร็วกว่า Zip Drive และ LS Drive อีกด้วย - จานแม่เหล็กแบบแข็ง (Hard disk) มีข้อดีคือสามารถบันทึกสารสนเทศได้จำนวนมาก และมีความเร็วสูงกว่า Diskette ในการโอนสารสนเทศเข้าสู่ RAM หรือจาก RAM สู่ฮาร์ดดิสก์ หน่วยขับจานบันทึก (disk drive) ประกอบด้วย access arms จำนวนเท่ากับแผ่นจานแม่เหล็ก (disk platter) ปลายแขนมีหัวอ่านและหัวเขียน (read/write head) สำหรับอ่านและบันทึกสารสนเทศบนแผ่นจานแม่เหล็ก ซึ่งจานแม่เหล็กจะมีสัณฐานกลมและร่องซ้อนกันอยู่อย่างหนาแน่น แต่ละร่องบนแผ่นเรียกว่า track โดย access arm จะเลื่อนเข้าสู่แผ่นเพื่อให้หัวอ่านหรือหัวเขียนทำงาน (ไม่พร้อมกัน) บน track ที่โปรแกรมระบุไว้ ทั้งนี้ access arms จะเลื่อนเข้า-ออกบนแผ่นอย่างพร้อมกัน ด้วยเทคนิคนี้เองมีศัพท์เรียกว่า cylinder method กล่าวคือ access arms ทุกแขนเคลื่อนเข้า-ออกบนแผ่นอย่างพร้อมกันและหัวอ่าน/เขียนจะทำงานบน tracks เดียวกันของทุกแผ่น แต่ละแผ่นของฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วย track เป็นพัน ๆ และสารสนเทศในรูปของแฟ้มข้อมูลก็บันทึกอยู่บน track เหล่านี้


ฮารดดิสก์
กล่าวคือ ฮาร์ดิสก์จะทำงานหมุนแผ่นโลหะกลมที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล(ptatters) อยู่ตลอดเวลา การเข้าไปอ่านหรือเขียนฮาร์ดดิสก์แต่ละครั้ง หัวอ่านซึ่งลอยอยู่เหนือผิวดิสก์โลหะนิดเดียว ขนาดความจุ ความสามารถ และรูปแบบของฮาร์ดิสก์ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวาดเร็วหลังจากมีการเปิดตัวฮาร์ดิสก์พร้อมๆ กับเครื่อง IBM XT จากเดิมมีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ มีความหนา 3 ถึง 4 นิ้ว จนต้องใช้ช่องใส่ขนาด 5.25 นิ้ว ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล 87 มิลลิวินาที เปลี่ยนไปเป็นความจุ 200 เมกะไบต์ มีขนาดเล็กกว่าฟลอปปี้ดิสก์ 3.5 นิ้ว นิ้ว ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล 18 มิลลิวินาที และในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงความจุ เป็นหน่วยกิกะไบต์แล้ว ขนาดก็เล็กลงพร้อมกันนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์แล้ว
1. ตัวถังของฮาร์ดิสก์จะเป็นแผ่นโลหะจะเป็นแผ่นโลหะหุ้มโดยรอบและไม่มีรอยรั่วเพื่อป้องกันฝุ่นผงเข้าตัวฮาร์ดดิสก์ สาเหตุที่เตาต้องป้องกันฝุ่นผงก็คือ ฝุ่นผงมักจะมีขนาดใหญ่พอที่จะเข้าไปแทรกช่องว่าระหว่างหัวอ่านกับแผ่นดิสก์ ครั้นหัวอ่านเคลื่อนที่ก็จะเป็นการลากถูฝุ่นผงไปบนผิวดิสก์ ทำให้สารแม่เหล็กที่เคลือบผิวเป็นรอยขีดข่วนเสียหาย และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้
2. ที่ด้านล่างสุดเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบตุมการทำงานของหัวอ่านและการหมุนดิสก์ เราเรียกแผงวงจรนี้ว่า ลอจิกบอร์ด (logic board) แล้วแปลงคำสั่งดังกล่าวให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อกระทำหัวอ่านให้เป็นแม่เหล็กตามจังหวะ ข้อมูลที่ป้อนให้กับมัน นอกจากนั้นลอกจิกบอร์ดยังทำหน้าที่ควบคุมความเร็วในการหมุนดิสก์ให้คงที่ และบอกให้หัวอ่านเคลื่อนที่ไปมายังบริเวณข้อมูลที่ต้องการเขียน/อ่านอีกด้วย สำหรับดิสก์ที่เป็นระบบ IDE (Intergrated Drive Electribuc/x) คอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมดิสก์จะประกอบเป็นส่วนหนึ่งของลอจิกบอร์ดไปเลย
3. แกนหมุนซึ่งประกอบด้วยแผ่นดิสก์โลหะ 4 แผ่น 8 หน้า จะเชื่อมติดกับมอเตอร์แล้วหมุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อวินาที จำนวนแผ่นดิสก์และหน้าดิสก์ที่มีการเคลือบสารแม่เหล็กจะเป็นตัวบอกขนาดความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ อนึ่ง การเคลือบสารแม่เหล๊กที่เป็นอัลลอย(alloy) จะเคลือบบางเพียงเศษสามส่วนล้านนิ้วเท่านั้น
4. แกนหัวอ่านซึ่งถูกกระตุ้นการทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า จะถึงหรือผลักแขนหัวอ่านให้วิ่งไปทั่วแผ่นดิสก์ด้วยความแม่นยำ โดยการปรับแต่งการหมุนของแกนหัวอ่านจะกระทำอยู่ตลอดเวลา โดยการอ่านตำแหน่งแทร็กที่มีการเขียนเป็นแนววงกลมทั่วไปบนแผ่นดิสก์
5. หัวอ่าน/เขียน จะติดอยู่กับแขนที่ยิ่นออกไปบนแผ่นดิสก์ เวลาเขียนข้อมูล หัวอ่านจะนำข้อมูลที่มาจากตัวควบคุมดิสก์(disl controller) แปลงเป็นสนามแม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำให้สารเคลือบผิวเกิดการเรียงตัวใหม่ โดยให้เป็นไปในทิศทางของข้อมูลในทางกลับกันหรือในการอ่านหัวอ่านก็จะว่างผ่านสนามแม่เหล็กที่เกิดจากสารแม่เหล็กที่ผิว แล้วถอดรหัสสนามแม่เหล็กเหล่านั้นให้กลายเป็นข้อมูล
6. เมื่อซอฟต์แวร์ของคุณบอกให้ดอสอ่านหรือเขียนข้อมูล ดอสจะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปที่แฟต (FAT) ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บดัชนีชี้ตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์ต่างๆ บนดิสก์ ข้อมูลในแฟตนี้จะทำให้หัวอ่านสามารถกระโดดไปอ่านข้อมูลไฟล์ที่คลัสเตอร์นั้นๆ ได้ทันที กรณีที่เป็นการเขียนข้อมูล หัวอ่านก็จะกระโดดไปคลัสเตอร์ที่แฟตบอกว่าว่างได้เช่นเดียวกัน
7. ไฟล์หนึ่งๆ อาจถูกแบ่งซอยออกเป็นหลายคลัสเตอร์ แต่ละคลัสเตอร์อาจอยู่บนและแผ่นคนละหน้าดิสก์ก็ได้ การไม่ต่อเนื่องของไฟล์นี้เองทำให้แฟต (FAT) มีความสำคัญ กล่าวคือ แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ใดเป็นคลัสเตอร์เริ่มต้น จากนั้นจะมีการบอกคลัสเตอร์ต่อไปของไฟล์เหมือนการโยงโซ่ไปเรื่องๆ จนครบทั้งไฟล์ ในการกรณีที่มีการเขียนข้อมูลลงดิสก์ แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ไหนที่ว่าง ดอสก็จะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปเขียนข้อมูลในคลัสเตอร์ที่ว่าง ซึ่งอาจจะมีหลายคลัสเตอร์ที่ไม่ต่อเนื่อง เมื่อเขียนเสร็จดอสจะสั่งให้หัวอ่านกลับไปที่แฟตอีกที เพื่อเขียนบันทึกการโยงคลัสเตอร์แต่ละคลัสเตอร์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งไฟล์
2.สื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง


CD-ROM Drive
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป
ความเร็วของไดรว์ซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรว์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดรว์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ส่วนไดรว์ที่มีความเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล ตามตาราง
3.1 การทำงานของ CD-ROM
ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรว์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก “แลนด์” สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก “พิต” ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
3.2 ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time)
ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลคือ ช่วงระยะเวลาที่ไดรว์ซีดีรอมสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม แล้วส่งไป ประมวลผล หน่วยที่ใช้วัดความเร็วนี้คือ มิลลิวินาที (milliSecond) หรือ ms ปกติแล้วความเร็วมาตรฐานที่ เป็นของไดรว์ซีดีรอม 4x ก็คือ 200 ms แต่ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดรว์ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วที่แท้จริงนั้นจะขึ้นอยู่ กับว่าข้อมูลที่กำลังอ่าน อยู่ในตำแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งด้านใน หรือวงในของแผ่นซีดี ก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของแผ่น ก็จะทำให้ความเร็วลดลงไป
3.3 แคชและบัฟเฟอร์
ไดรว์ซีดีรอมรุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชหรือบัฟเฟอร์ติดตั้งมาบนบอร์ดของซีดีรอมไดรว์ มาด้วย แคชหรือบัฟเฟอร์ที่ว่านี้ก็คือชิปหน่วยความจำธรรมดาที่ติดตั้งไว้เพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนที่จะส่ง ข้อมูลไปประมวลผลต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านข้อมูลจากไดรว์ซีดีรอม ซึ่งแคชนี้มีหน้าที่เหมือน กับแคชในฮาร์ดดิสก์ที่จะช่วยประหยัดเวลา ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี เพราะถ้าข้อมูลที่ร้องขอมามีอยู่ ในแคชแล้ว ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปอ่านข้อมูลจากแผ่นอีก ขนาดของแคชในไดรว์ซีดีรอมทั่วๆ ไปก็คือ 256 กิโลไบต์ ซึ่งถ้ายิ่งมีแคชที่มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล ให้สูงขึ้นไปอีก
ข้อดีของการติดตั้งแคชลงไปในไดรว์ซีดีรอมก็คือ แคชจะช่วยให้สามารถรับ-ส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็ว สม่ำเสมอ เมื่อแอพพลิเคชั่นร้องขอข้อมูล มายังไดรว์ซีดีรอม แทนที่จะต้องไปอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งมี ความเร็วต่ำ ก็สามารถอ่านข้อมูล ที่ต้องการจากแคช ที่มีความเร็วมากกว่าแทนได้ ยิ่งมีแคชจำนวนมากแล้วก็ สามารถที่จะเก็บข้อมูลมาไว้ในแคชได้เยอะขึ้น ทำให้เสียเวลาอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีน้อยลง
3.4 อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอม
อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอมมีอยู่ 2 ชนิดคือ IDE ซึ่งมีราคาถูก มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลอยู่ในขั้น ที่ยอมรับได้ และชนิด SCSI มีราคาแพงกว่าแบบ IDE แต่ก็จะมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้นด้วย เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นซีดีเซิร์ฟเวอร์ เพราะต้องการความเร็ว และความแน่นอนในการส่งถ่ายข้อมูลมากกว่า
ไดรว์ซีดีรอมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก แบบติดตั้งภายในมีข้อดีคือ ประหยัดพื้นที่ในการวางซีดีรอมไดรว์และไม่ต้องใช้อินเตอร์เฟตเพื่อจ่ายไฟให้กับไดรว์ซีดีรอม และที่สำคัญมีราคาถูกกว่าแบบติดตั้งภายนอก แบบติดตั้งภายนอกมีข้อดีคือ สามารถพกพาไปใช้กับ เครื่องอื่นได้สะดวก

3.1 ชนิดของ CD-ROM
3.1.1 ชนิดที่อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว
ซีดีรอมไดรว์จะมีการบอกเสปคเป็น ”x” เดี่ยวๆ เช่น48 x หรือ52 x ก็จะหมายถึงอ่านข้อมูลได้ที่ความเร็ว 48x และ 52 x ตามลำดับ
3.1.2 ชนิดที่สามารถอ่านและเขียนบันทึกข้อมูลได้
ซีดีอาร์ไดรว์
CD-R Driveย่อมาจาก
CD Recordable Driveซึ่งนอกจากจะอ่านแผ่นซีดีแล้วยังสามารถเขียนบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R : CD-Recordable ที่เป็นแผ่นซีดีแบบบันทึกข้อมูลอย่างเดียวได้อีกด้วยโดยจะมีการแบ่งสเปคไว้ 2 ตัว เช่น 4x24 หมายถึงเขียนข้อมูลได้ที่ 4 x ละอ่านข้อมูลได้ที่ 24x เป็นต้น
3.1.3 ชนิดที่สามารถอ่านบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้
ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ CD-RW Drive ย่อมาจาก CD-ReWritable Drive ที่สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R อีกทั้งยังเขียนและลบข้อมูลจากแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวCD-RW ที่สามารถเขียน และลบข้อมูลได้ เหมือนฮาร์ดดิสก์อีกด้วยซึ่งจะแบ่งสเปคออกเป็น 3 ตัว เช่น12x 12x32xสามารถเขียน CD-R ได้ที่ความเร็ง 12x เขียน CD-RW ได้ที่ความเร็ว 12x และอ่านข้อมูลได้ที่ 32x
4. DVD-ROM Drive
ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร ) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี ( DVD Writer ) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี
4.1 คุณสมบัติของดีวีดี
4.1.1 สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที
4.1.2 การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
4.1.3 สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
4.1.4 มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
4.1.5 ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
4.1.6 สามารถทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
4.1.7 ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
4.1.8 มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)
4.2 ชนิดของแผ่นดีวีดีที่ใช้บันทึกนั้นมีอยู่ 6 ชนิด คือ
4.2.1 DVD-R
4.2.2 DVD+R
4.2.3 DVD-RW
4.2.4 DVD+RW
4.2.5 DVD-R DL
4.26 DVD+R DL
4.3 ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW
ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW คือ สามารถนำกลับมาบันทึกใหม่ ได้กว่า 100,000 ครั้ง แต่ดีวีดีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันนี้คือ DVD-R ในการบันทึก DVD แต่ละชนิดนั้นไม่สามารถใช้งานข้ามชนิดได้ คือ ไม่สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟได้ เช่น DVD-RW ไม่สามารถใช้งานในเครื่องบันทึก DVD+RW ได้ ต้องเขียนกับเครื่องบันทึก DVD-RW เท่านั้น ส่วนการอ่านข้อมูลใน DVD นั้น สามารถอ่านกับเครื่องไหนก็ได้ เช่น DVD+RW สามารถอ่านกับเครื่องเล่น DVD-RW ได้
4.4 โซนของแผ่นดีวีดี
แผ่นดีวีดีที่ใช้บรรจุภาพยนตร์นั้น จะมีการบรรจุรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes) หรือ โซน (Zone) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ในแต่ละแผ่นจะบรรจุรหัสไว้อย่างน้อย 1 โซน สำหรับแผ่นที่สามารถใช้ได้กับทุกโซน (All Zone) นั้น จะบรรจุรหัสเป็น1,2,3,4,5,6 นั่นเอง แผ่นพวกนี้ในบางครั้งนิยมเรียกว่าแผ่นโซน 0 โดยปกติเครื่องเล่นดีวีดี รวมถึงดีวีดีรอม ที่ผลิตในแต่ละประเทศ จะสามารถเล่นได้เฉพาะแผ่นที่ผลิตสำหรับโซนนั้นๆ และแผ่นที่ระบุเป็น All Zone เท่านั้น โซนพื้นที่
4.4.1 สหรัฐอเมริกา, แคนาดา
4.4.2 ยุโรป, ญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้, ตะวันออกกลาง ( รวมถึง อียิปต์ )
4.4.3 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( รวมถึง ประเทศไทย ), เอเชียตะวันออก ( รวมถึง ฮ่องกง แต่ไม่รวม จีน )
4.4.4 อเมริกากลาง, อเมริกาใต้, โอเชียเนีย
4.4.5 ยุโรปตะวันออก, รัสเซีย, เอเชียใต้, แอฟริกา, เกาหลีเหนือ, มองโกเลีย
4.4.6 จีน
4.4.7 สำรอง
4.4.8 ยานพาหนะระหว่างประเทศ เช่น เรือ, เครื่องบิน
สำหรับโซน 2 (ยุโรป) อาจจะมีรหัสย่อยตั้งแต่ D1 จนถึง D4 โดย D1 คือจำหน่ายเฉพาะประเทศอังกฤษ, D2 และ D3 กำหนดว่าไม่จำหน่ายในอังกฤษและไอร์แลนด์ ส่วน D4 หมายถึงจำหน่ายได้ทั่วทั้งยุโรป ในหนึ่งแผ่นดีวีดีสามารถใส่รหัสโซนรวมกันได้หลายโซน โดยอาจมีรหัสโซน 3/6 เพื่อให้สามารถใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับจีน
3.สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป


เทปแม่เหล็ก (Megnetic Tape) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้กันมานานตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งและยุคที่สอง ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่เปลี่ยนจากการเล่น (play) และบันทัก (record) เป็นการอ่าน (read) และเขียน (write) แทน ในเครื่องเมนเฟรมเทปที่ใช้จะเป็นแบบม้วนเทป (reel-to-reel) ซึ่งเป็นวงล้อขนาดใหญ่ ในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้คาร์ทริดจ์เทป (cartidege tape) ซึ่งมีลักษณะคล้ายวีดีโอเทป ส่วนในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะใช้ตลับเทป (cassette tape) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเทปเพลง เทปทุกชนิดที่กล่าวมามีหลักการทำงานคล้ายกับเทปบันทึกเสียง คือจะอ่านข้อมูลตามลำดับก่อนหลังตามที่ได้บันทึกไว้ เรียกหลักการนี้ว่าการอ่านข้อมูลแบบลำดับ (sequential access) การทำงานลักษณะนี้จึงเป็นข้อเสียของการใช้เทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูล คือทำให้อ่านข้อมูลได้ช้า เนื่องจากต้องอ่านข้อมูลในม้วนเทปไปเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งที่ต้องการ ผู้ใช้จึงนิยมนำเทปแม่เหล็กมาสำรองข้อมูลเท่านั้น ส่วนข้อมูลที่กำลังใช้งานจะถูกเก็บอยู่บนหน่วยเก็บข้อมูลแบบ จานแม่เหล็ก (Megnetic Disk) เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย และนำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญและไม่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ มา เก็บสำรอง (back up) ไว้ในเทปแม่เหล็ก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล ข้อดีของเทปแม่เหล็กคือสามารถบันทุก อ่านและลบกี่ครั้งก็ได้ รวมทั้งมีราคาต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในสื่อที่มีขนาดใหญ่มากนัก ความจุของเทปแม่เหล็กจะมีหน่วยเป็น ไบต์ต่อนิ้ว (byte per inch) หรือ บีพีไอ (bpi) ซึ่งหมายถึงจำนวนตัวอักษรที่เก็บได้ในเทปยาวหนึ่งนิ้ว หรือเรียกได้อีกอย่างว่าความหนาแน่นของเทปแม่เหล็ก เทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นต่ำ จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 1,600 บีพีไอ ส่วนเทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นสูง จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 6,250 บีพีไอ นอกจากนี้ จะมีเทปแม่เหล็กรุ่นใหม่ ๆ คือ DAT (Digital Audio Tape) ซึ่งขนาดใหญ่กว่าเครดิตการ์ดเล็กน้อย แต่สามารถจุข้อมูลได้ 2 - 5 จิกะไบต์และ R-DATs ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 14 จิกะไบต์ บนเทปที่ยาว 90 เมตร การที่เทปแม่เหล็กยังคงได้รับความนิยมให้เป็นสื่อที่เก็บสำรองข้อมูล ก็เพราะความเร็ว ความจุข้อมูล และราคานั่นเอง

การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์

อุปกรณ์รับส่งข้อมูล หมายถึงสื่อกลางที่ใช้เป็นเส้นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูล สำหรับการเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้หลายประเภทดังนี้

การติดต่อและทำงานร่วมกันต้อง อาศัยเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ที่ทำการส่งทั้งส่วนที่บอกตำแหน่งของ อุปกรณ์นั้น(AddressBus) เส้นทางของข้อมูลที่ทำการส่ง (Data Bus) และ เส้นทางของส่วนที่ควบคุม อุปกรณ์นั้นหรือ สัญญาณ ( Control Bus)
1.แอดเดรสบัส (Address Bus) จะประกอบด้วยสัญญาณแอดเดรสหลายเส้นขึ้นอยู่กับรุ่นของ CPU เช่น CPU 8088 หรือ 8086 จะมีทั้งหมด 20 เส้น หรือ 20 บิต จะอ้างตำแหน่ง ของหน่วยความจำ และตำแหน่งพอรต์ 220 หรือ 1,048,576 หรือ 1 MB และ CPU รุ่นใหม่ๆจะมีสายสัญญาณ แอดเดรสได้มากขึ้น เช่น 24 เส้น อ้างตำแหน่งได้ 16 MB ในส่วนของแอดเดรสบัสนี้ จะเป็นบัสที่ส่ง ข้อมูลออกจาก CPU ทิศทางเดียว “Unidirectional bus” 2.บัสข้อมูล (Data Bus) เป็นเส้นทางที่ใช้ส่งข้อมูลเข้าออกให้กับตัว CPU โดยทำงานร่วมกับ แอดเดรสบัส ข้อมูลจะวิ่งได้ 2 ทิศทาง เป็นประเภท “directional bus” จะข้นอยู่กับรุ่นของ CPU เช่น 8088 จะมีบัสข้อมูล 8 เส้น ส่งข้อมูลได้ครั้งละ 1 ไบต์ ส่วน 80286 จะใช้บัสข้อมูล 16 บิต จะทำการส่งข้อมูลได้ครั้งละ 2 ไบต์
3.บัสควบคุม (Control Bus) เป็นกลุ่มของสัญญาณที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่ออยู่กับ CPU เช่นสัญญาณ

อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า


ความรู้ Input Unit อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
Input Unit อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลจากผังการทำงานของคอมพิวเตอร์ในบทที่ 1 จะพบว่าก่อนที่จะถึงหน่วยประมวลผล จะมีหน่วยรับข้อมูลหรือ inputunit คอยป้อนคำสั่งเข้าไปซึ่งหน่วยรับข้อมูลนี้เองเปรียบเสมือนการมองเห็นของตา การได้ยินของหู การได้กลิ่นของจมูกอุปกรณ์ input unit มีมากมายหลายหลายรูปแบบ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ1. หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก ( Primary Input ) คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี2. หน่วยป้อนข้อมูลเสริม ( Alternative input ) คืออุปกรณ์ที่จะมีหรือไม่ก็ได้คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการป้อนข้อมูลเข้า เช่นการนำเข้ารูป การนำเข้าเสียง
จำแนกประเภทของอุปกรณ์ input ข้อมูลหน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก ( Primary Input )- Mouse- Keyboardหน่วยป้อนข้อมูลเสริม ( Alternative input )- Scanner- Camera- Microphone- Lightpen- Touch screen- Joystick- Touchpad- Digitizer
2.1 รายละเอียดของอุปกรณ์ inputถ้าจะแบ่งตามรูปแบบลักษณะการนำเข้าเราสามารถแบ่งได้เป็นประเภทดังนี้
1. อุปกรณ์แบบกดa. แป้นพิมพ์ (Keyboard)
2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง
-a. เมาส์ (Mouse)
-b. ลูกกลมควบคุม(Track ball)
-c. แท่งชี้ควบคุม(Track point)
-d. แผ่นรองสัมผัส (Touch pad)
-e. จอยสติก (Joystick)
-f. จอภาพระบบสัมผัส (Touch Screen)
-g. ปากกาแสง (Light pen)
-h. เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
3. เครื่องอ่านด้วยแสง
-a. สแกนเนอร์ (Scanner)
4. แบบกล้อง
-a. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera)
-b. กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
5. นำเข้าด้วยเสียง
-a. Microphone
6. อุปกรณ์แบบกด
6.1.1 แป้นพิมพ์ (Keyboard)เป็นหน่วยรับข้อมูลเข้าที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง Keyboardจะมีการบอกรุ่นของคีย์บอร์ดโดยใช้เลขของจำนวนคีย์ เช่น keyboard 101 ก็จะหมายถึงมี จำนวนของคีย์เท่ากับ 101คีย์ บนแป้นพิมพ์ ปัจจุบันคีย์บอร์ดมีการออกแบบให้เป็นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานประเภทของคีย์บอร์ด- Microsoft Natural Keyboard Pro เป็น keyboard ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความสบายในการใช้งาน โดยคำนึงถึงสะรีระ ของผู้ใช้งาน แต่คีย์บอร์ดประเภทนี้มีข้อจำกัดตรงที่ ถ้าผู้ใช้พิมพ์สัมผัสไม่เป็นจะใช้งานได้ยาก- Keyboard 101 key เป็น Keyboard รุ่นที่นิยมใช้กันในช่วงที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Dos , Windows 3.x- Keyboard 104 Key เป็นรุ่นที่มีปุ่ม Windows Key ซึ่งออกแบบมาสำหรับช่วยเสริมการทำงานของระบบWindows95-VistaP a g e 16CA. 206 Introduction to Computer for Communication Artsมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์- Keyboardยาง สำหรับคนที่ต้องการเคลื่อนที่บ่อย ๆ หรืออยู่ในที่บริเวณที่เสี่ยงต่อน้ำจะหกบน keyboard ซึ่งเป็นคีย์บอร์ดแบบซิริโคน สามารถม่วนพับเก็บได้- 88KEY USB Mini Keyboard เป็นคีย์บอร์ดสำหรับการใช้งานในพื้นที่ ที่จำกัด โดยที่ด้านล่างมี touchpad คล้ายกับที่ใช้กับnotebook- Numeric Keyboard เป็นคีย์บอร์ดที่มีเพียงแต่แป้นตัวเลข ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้กับ notebook เพราะการพิมพ์ตัวเลข ต่าง ๆ บน notebookจะค่อนข้างลำบาก

อุปกรณ์แสดงผล



จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผล จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันจะเป็นจอสีทั้งหมด ส่วนจอขาวดำ ไม่มีให้เห็นแล้ว และส่วนมากจะเป็นจอแบบ CRT (Cathode Ray Tube) เพราะจอ CRT มีราคาสูง ส่วนเครื่องโน็ตบุ๊คจะเป็นจอแบบ LCD โดยขนาดนี้นิยมใช้จะอยู่ที่ 15 นิ้ว จอ CRT รุ่นใหม่ๆ จะมีกระจกหน้าจอแบบราบการ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลหรือชื่องอย่างเป็นทางการคือ VGAdapter Card A ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของจอภาพ โดยข้อมูลที่จะแสดงจะถูกส่งจากซีพียูมายังการ์ดแสดงผล เพื่อประมวลผล ในจากดิจิตอลเป็นแอนะล็อก แล้วส่งไปยังวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ของจอภาพ เพื่อให้ปรากฏเป็นภาพบนหน้าจอ
เครื่องพิมพ์ ( Printer)
เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่มีคู่กับคอมพิวเตอร์มานานแล้วและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้โดยทั่วไปมี 4 ประการคือ 1. เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม (Dot Matrix Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมากในอดีต การพิมพ์จะใช้หัวพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นเข็มเรียงกันเป็นแถวในแนวตั้ง มี 2 แบบ คือ 9 หัวเข็มและแบบ 24 หัวเข็ม อักษรที่ได้จะดูหยาบไม่ค่อยละเอียด 2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถพิมพ์สีได้ด้วย ถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดอื่นๆ 3. เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายเครื่องถ่ายเอกสารคุณภาพและความเร็วในการพิมพ์ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม และแบบพ่นหมึก มีความคมชัดสูงแต่ราคาก็สูง 4. เครื่องพิมพ์แบบพล็อตเตอร์ (Plotter Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้สำหรับการพิมพ์งานประเภทงานออกแบบการ์ดเสียง (Sound Card) เป็นการ์ดที่ช่วยสนับสนุนและจัดการด้านเสียงของเครื่องพีซี และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นไฟล์เสียง สร้างเสียงดนตรี การบันทึกเสียงไปเป็นไฟล์แบบดิจิตอล ตลอดจนการ Mix เสียง การ์ดเสียงรุ่นใหม่จะเป็นแบบที่เสียบในสล็อต PCI และมีคุณสมบัติ Plug and Play ซึ่งทำให้การติดตั้งง่ายขึ้นมากลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงเสียงเหมือนลำโพงเครื่องเสียง โดยจะทำการแปลงสัญญาณไฟฟ้า จากการ์ดเสียงให้ออกมาเป็นเสียงต่างๆ ดังนั้น คุณภาพเสียงที่ได้จึงไม่ได้ขึ้นอยู่ที่การ์ดเสียงเท่านั้น ต้องอาศัยการขับพลังเสียงของลำโพงด้วย ซึ่งลำโพงที่นิยมใช้กันทั่วไปจะเป็นลำโพงแบบตอบสนองเบสและเสียงแหลมที่ชัดเจนควรใช้ลำโพงแบบซัปวูฟเฟอร์จะให้เสียงเบสที่นุ่มนวลกว่าและแบบทวีตเตอร์ซึ่งจะให้เสียงแหลมที่ชัดเจน