วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานบูรณาการงานสวนพฤกษ์ศาสตร์

การทำตัวอย่างพรรณไม้ดอง

การนำตัวอย่างพืชที่เก็บได้นำไปแช่ในน้ำยาดองที่เหมาะสม น้ำยาที่นำมาดองนี้โดยทั่วไปนอกจากจะฆ่าเซลล์แล้ว ยังรักษาสภาพเซลล์ด้วย ชิ้นส่วนของพืชที่ดองไว้บางสูตรของน้ำยาสามารถที่จะนำสไลด์ถาวรได้ด้วย วิธีนี้ถ้าถ้าพืชขนาดเล็กอาจดองได้ทั้งต้น แต่ถ้าเป็นพืชขนาดใหญ่ก็จะใช้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น
น้ำยาดอง เป็นสารละลายที่มีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ ซึ่งมีสูตรต่างๆ กัน ให้คุณภาพและประสิทธิภาพไม่เหมือนกัน ที่นิยมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่

1. น้ำยาดองแบบธรรมดา
1.1 ฟอร์มาดีไฮด์ หรือ ฟอร์มาลิน 3-5%
สามารถใช้แช่ตัวอย่างได้ระยะเวลานานโดยไม่เปราะ ประกอบด้วย
ฟอร์มาดีไฮด์ 40 % 3-5 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 97-95 มิลลิลิตร
1.2 เอธิลแอลกอฮอล์ 70%
สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะจาง เซลล์เหี่ยว และเนื้อเยื่อเปราะ ประกอบด้วย
เอธิลแอลกอฮอล์ 70% 70 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 25 มิลลิลิตร
1.3 เอฟเอเอ(ฟอร์มาลิน อะซิติก แอลกอฮอล์)
ตัวอย่างที่ดองไม่สามารถรักษาสภาพสีเขียวไว้ได้ ประกอบด้วย
กรดอะซิติก 5 มิลลิลิตร
เอธิลแอลกอฮอล์ 95% 50 มิลลิลิตร
ฟอร์มาลิน 40 มิลลิลิตร
น้ำกลั่น 35 มิลลิลิตร
2. น้ำยาดองรักษาสภาพสี
2.1 การดองเพื่อรักษาสีเขียว ประกอบด้วย
ฟอร์มาลิน 40% 12 มิลลิลิตร
โซเดียมคลอไรด์ 4 กรัม
คอปเปอร์ซัลเฟต 1 กรัม
น้ำกลั่น 230 มิลลิลิตร
2.2 การดองเพื่อรักษาสีแดง ส้ม และเหลือง
ฟอร์มาลิน 40% 25 มิลลิลิตร
กลีเซอรีน 25 มิลลิลิตร

ซิงค์คลอไรด์ 50 กรัม
น้ำกลั่น 1000 มิลลิลิตร
2.3 การดองรักษาสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
โปแทสเซียมไนเตรต 30 กรัม
โซเดียมคลอไรด์ 90 กรัม
น้ำกลั่น 4500 มิลลิลิตร
คอปเปอร์ซัลเฟต 0.5 กรัม
ภาพตัวอย่างพรรณไม้ดอง




ภาพน้อยหน่าดองทั้งผล




ภาพน้อยหน่าผ่าตามยาว


ภาพน้อยหน่าผ่าตามขวาง












































































วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปลักษณะ











สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพื้นเมือง น้อยหน่า รหัสพรรณไม้ 7-30240-001-016
สภาพนิเวศน์ อยู่บนบก กลางแจ้ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย เป็นไม้พุ่ม ความสูง 2.3 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 1.2 เมตร รูปร่างทรงพุ่ม รูปไข่ ลำต้น เป็นลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงได้เอง ผิวลำต้นเรียบ เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นแก่สีน้ำตาลไม่มีน้ำยาง ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวแก่ ขนาดแผ่นใบกว้าง 5.2 เซนติเมตร ยาว 13.4 เซนติเมตร



ใบมีกลิ่นฉุน ใบเรียงสลับระนาบเดียว แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ



ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามลำต้นหรือกิ่ง ดอกสีเขียวแกมเหลือง กลีบเลี้ยงแยกกัน จำนวน 3 กลีบ สีเขียว กลีบดอกแยกกัน จำนวน 3 กลีบ สีเขียวแกมเหลือง กลีบดอกแยกกันรูปกากบาท



ผล เป็นผลสดแบบผลกลุ่ม ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่สีเขียวแกมเหลือง รูปร่างของผลรูปกลม เมล็ด มีจำนวนหลายเมล็ดต่อผล

งานสวนพฤกษ์ศาสตร์

7-30240-001-016/2

ชื่อพื้นเมือง น้อยหน่า
เตียบ (เขมร)
น้อยหน่า (ภาคกลาง)
น้อยแน่ (ภาคใต้)
มะนอแน่ มะแน่ (ภาคเหนือ)
มะออจ้า มะโอจ่า (เงี้ยว ภาคเหนือ)
ลาหนัง (ปัตตานี)
หน่อเล๊าะแซ (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)
หมักเขียบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa L.
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ Custard apple , Sugar apple , Sweet sop
ประโยชน์ ผลเป็นอาหารรับประทานได้ ใบใช้แก้เหา