วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่7การจัดการข้อมูล

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
๑.จำแนกประเภทของหน่วยข้อมูลได้
ตอบ๑.บิต
๒..อักขระ
๓. ไบต์
๔..ฟิลด์
๕.เรกคอร์ด
๖ไฟล์
๗.ฐานข้อมูล
๒. อธิบายประเภทแฟ้มข้อมูลได้
ตอบ๑.แฟ้มข้อมูลหลัก เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ แฟ้มข้อมูลบัญชี เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี
๒.แฟ้มรายการปรับปรุง เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

๓.อธิบายลักษณะของการประมวลผลได้
ตอบวิธีการประมวลผล (Processing Technique) การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการประมวลผลทางธุรกิจนั้นมีวิธีการประมวลผลได้หลายแบบดังนี้
1. การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยผู้ใช้จะทำการรวบรวมเอกสารที่ต้องการประมวลผลไว้เป็นชุดๆ ซึ่งแต่ละชุดอาจจะกำหนดเท่ากับเอกสาร 10 หรือ 20 รายการหรือมากกว่าก็ได้แต่ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วป้อนข้อมูลดังกล่าวสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงใช้คำสั่งให้ประมวลผลพร้อมกันที่ละชุดตัวอย่าง บริษัทหนึ่งอาจจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อออกบิลโดยมีการรวบรวมใบสั่งซื้อจากลูกค้าภายในหนึ่งวันจากแผนกขาย จากนั้นก็ส่งให้แผนกคอมพิวเตอร์ทำการป้อนข้อมูลและตรวจสอบความ ถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะเก็บบันทึกไว้ จากนั้นก็จะนำข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล ซึ่งอาจจะต้องอาศัยแฟ้มข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการประมวลผล เช่น แฟ้ม ข้อมูลสินค้าคงเหลือ แฟ้มข้อมูลลูกหนี้ กรณีลูกค้าซื้อเงินเชื่อและแฟ้มประวัติลูกค้า เป็นต้น จากนั้นก็จะนำข้อมูล ดังกล่าวไปประมวลผล ซึ่งอาจจะต้องอาศัยแฟ้มข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการประมวลผล เช่น แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ แฟ้ม ข้อมูลลูกหนี้ กรณีลูกค้าซื้อ เงินเชื่อและแฟ้มประวัติลูกค้า เป็นต้น จากนั้นจึงออกบิลเพื่อส่งต่อให้กับผู้ขายเพื่อเบิกสินต้าที่แผนกพัสดุ สินค้าหรือโกดัง (Warehouse) พิจารณา แสดงข้อดีและข้อเสียของการประมวลผลแบบชุด
รูปแสดงขั้นตอนการรวบรวมบิลเป็นชุดก่อนประมวลผลแบบชุด
้ข้อดีของการทำงานแบบชุด
ข้อเสียของการทำงานแบบชุด
1. เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณงาน มากแต่ไม่จำเป็นต้องบริการข้อมูลทันทีทันใด
1. เสียเวลาในการข้อมูลที่ต้องการทันทีทันใด อาจจะไม่ทันสมัย(Update) เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลจะทำเป็นช่วงๆ ปรับปรุงในกรณีที่มีรายการ ปรับปรุงน้อยเพราะจะต้องอ่านทุกรายการจนกว่า จะถึงรายการที่ต้องการปรับปรุง
2. ง่ายต่อการตรวจสอบ หากข้อมูลผิดพลาด สามารถตรวจสอบเฉพาะชุดของข้อมูลที่ผิดพลาด
2. เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ก่อนจะทำการ ประมวลผล


2. การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive)
หมายถึง การทำงานในลักษณะที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา เช่น กรณีที่ลูกค้า นายวัลลภ คลองหก จากบริษัทราชมงคล จำกัด ติดต่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผนกขาย เจ้าหน้าที่พนักงานขายจะต้องป้อนรหัสลูกค้าเพื่อเรียกประวัตินายวัลลภขึ้นมาพิจารณาว่าในขณะนี้ได้สั่งซื้อสินค้าเกินวงเงินเครดิตหรือไม่ ถ้าไม่เกินก็อนุมัติการขายแต่ถ้าหากเกินก็อาจจะให้ชำระเป็นเงินสด จากนั้นจะมีการตรวจสอบแฟ้มสินค้าคงคลังว่ามีสินค้าดังกล่าวหรือไม่เพื่อตัดสต็อก (Stock) แล้วพิมพ์บิลเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า แสดงการทำงานการออกบิลโดยการประมวลผลแบบโต้ตอบ

้ข้อดีของการทำงานแบบโต้ตอบ
ข้อเสียของการทำงานแบบโต้ตอบ
1. สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ป้อนทันทีทันใดด
1. โอกาสผิดพลาดมีมากกว่าวิธีแบบชุดเนื่องจากการ ตรวจทานที่หน้าจอภาพอาจจะทำให้ผู้ตรวจตาลาย
2. สารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที
2. การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยากกว่า
3. ได้รับผลลัพธ์ที่ทันสมัย
3. การประมวลผลแบบออนไลน์ (Online processing) คือ การประมวลผลร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ ต่อพ่วงกับระบบสื่อสาร (Communication) โดยอาศัยอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น โมเด็ม (Modem) ซึ่งลักษณะการทำงานอาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อพ่วงกันในระบบเครือข่าย (Network) ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ ขนาดกลางหรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กันแต่สามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันได้โดยมีการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างกัน ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์เราอาจจะสร้างเครือข่ายในลักษณะเครือขายเฉพาะ (Local Area Network(LAN) ซึ่งเป็นเครือข่ายใกล้ๆ หรืออาจสร้างเครือข่ายงานกว้าง [Wide Area Network(WAN) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันมากแต่เชื่อมต่อกันได้โดยระบบ โทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์หรือดาวเทียม ในเชิงธุรกิจกรณีที่พนักงานขายอยู่ต่างจังหวัดและจะส่งใบสั่งซื้อของลูกค้า เข้ามาที่สำนักงานใหญ่ก็สามารถทำได้โดยส่งข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์แล้วพิมพ์บิลทีสำนักงาน จากนั้นก็จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าตามใบสั่ง
๔.จำแนกความแตกต่างของโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภทได้
ตอบ แบ่งออกได้ ๓ ลักษณะคือ
๑.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ เป็นรุปแบบโครงสร้างพื้นบ้านที่สามารถใช้งานง่ายที่สุด
๒.โครงสร้างแฟ้มข้อมุลแบบสุ่มเป้นรูปแบบโครงสร้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
๓.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบลำดับดัชนี เป้นรูปแบบโครงสร้างที่รวมความสามารถของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับรับข้อมุลแบบสุ่มไว้ด้วยกัน
๕.จำแนกความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลได้
ตอบ แฟ้มข้อมูลจะมีการประมวลผลในแต่ละประเภทที่รู้แตกต่างกันออกไป แต่ระบบฐานข้อมูลจะประมวลที่ละหลายๆแฟ้มข้อมูลพร้อมกันเลย
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.ครูนำเอกสารตัวอย่างที่มีการกรอกข้อมูลไว้แล้ว หรือยกตัวอย่างข้อมูล เช่น ข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนแต่ละวิชาในชั้นเรียน แล้วให้เรียนตอบคำถามรายบุคคล โดยให้ดูจากข้อมูล แล้วตอบว่าส่วนใดคือฟิลด์ เรกคอร์ดไฟล์ หรือไบต์
ตอบ รหัสประจำตัวบัตรประชาชนคือ ฟิลด์ข้อมูลคือ เรกคอร์ดไฟล์ข้อมูลของเราคือ ไบต์
๒.ให้นักเรียนตอบคำถามเป็นรายบุคคล เมื่อครูยกตัวอย่างกรณีศึกษาว่า ถ้าต้องการนำข้อมูลนักเรียนนั้นไปจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับงานทะเบียน ในการบันทึกผลคะแนนให้แก่นักเรียนแต่ละบุคคล และสำหรับงานปกครอง เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูล นักเรียนที่มาสาย ลา หรือขาดเรียน เราควรจะประมวลผลข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลหรือแบบฐานข้อมูล
ตอบ แบบแฟ้มข้อมูล เพราะ เป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย
๓.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องทำการสำรองข้อมูล และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองโดยอุปกรณ์ใดบ้าง และปัจจัยในการเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดใดสำหรับสำรองข้อมูล
ตอบ เราต้องทำข้อมูลสำรองเพราะ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับข้อมูล เมื่อข้อมูลเหล่านั้นเสียหายหรือสูญเสีย ก็สามารถนำข้อมูลสำรองมาใช้แทนได้อุปกรณ์ที่ใช้สำรองข้อมูล คือ ฮาร์ดดิสก์

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้บทที่ ๕

๑.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตโดยให้หาความหมายของคำว่า open source และให้บอกซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ทที่รุ้จักในปัจจุบันมา ๓ ชนิด


ตอบ โอเพนซอร์ซ หรือ โอเพนซอร์ส (open source) คือวิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ โดยโอเพนซอร์ซถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โดยโอเพนซอร์ซเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป


ภาษาเพิร์ล เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp
ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.10.0 (ออกเมื่อเดือนธันวาคม 2007)
มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ และไคลเอนต์สำหรับโกเฟอร์และเอฟทีพี ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 2 รองจากอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552)
ไฟร์ฟอกซ์ใช้
เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว[9] โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ)
ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 3.6 ออกเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA
ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษา



ลินุกซ์ โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน
เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น
ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพกการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ
ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft






๒.ให้นักเรียนค้นหาซอฟท์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทยและให้บอกคุณสมบัติของซอฟท์แวร์ดังกล่าว


ตอบไอดิโอเทคฯ พัฒนา “ซอฟต์แวร์บริหารเครือข่ายอัจฉริยะ” แก้ปัญหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในอาคารใหญ่

ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตนับเป็นแหล่งความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อสื่อสารที่โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจ และ “อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ก็เกิดจากการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านั้นได้สะดวกยิ่งขึ้นกลุ่มคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงอดีตวิศวกรคอมพิวเตอร์ จึงมาร่วมกันจัดตั้ง บริษัท ไอดิโอเทค จำกัด ขึ้นเมื่อปี 2546 ด้วยปณิธานที่ว่า “อยากมีส่วนที่ทำให้ความรู้ไปถึงกลุ่มคนต่างๆ มากขึ้น” โดยสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งประกอบด้วย กฤษดา ทองเปล่งศรี, พงศ์พันธ์ ด่านพิษณุพันธ์ และพงศิศ เจริญ ซึ่งทั้ง 3 คน ร่วมกันเป็นกรรมการบริษัทฯบริษัท ไอดิโอเทค จำกัด เป็นผู้ให้บริการ ให้คำปรึกษา และติดตั้ง บริหาร จัดการดูแลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ผู้ใช้บริการภายในอาคาร อาทิ องค์กร โรงแรม คอนโดมิเนียม และ อพาร์ตเม้นต์หรือหอพัก สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้โดยง่ายและไม่สิ้นเปลืองคู่สัญญาณโทรศัพท์ภายใน รวมทั้งสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก โดยคุณภาพของสัญญาณมีความเร็วสม่ำเสมอ เสถียร ไร้ปัญหาสายหลุด และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อทั้งนี้ กฤษดา ทองเปล่งศรี หนึ่งในกรรมการ บริษัท ไอดิโอเทค จำกัด เล่าถึงจุดเริ่มต้นให้ฟังว่า จากอดีตที่เคยเป็นนักศึกษาหอพักมาก่อน และเคยประสบหลากหลายปัญหาจากการใช้อินเทอร์เน็ตของทางหอพักที่มีผู้ใช้งานพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก จึงได้มีแนวคิดในการแก้ปัญหาการใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ที่อยู่ในอาคารต่างๆการใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในอาคารมีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประสบปัญหาการแบ่งปันความเร็วในการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต (Internet Speed Sharing ) ที่มีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก โดยมีความเร็วไม่เท่ากันและไม่สม่ำเสมอ เพราะมักมีผู้ใช้งานส่วนหนึ่งดาวน์โหลดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา ทำให้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ต้องสูญเสียไปหรือตกไปอยู่ที่กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ใช้งานกลุ่มที่เหลือไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วน ถึงแม้ว่าทางเจ้าของอาคารหรือองค์กรจะพยายามแก้ปัญหาโดยการเช่าสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วที่สูงมากขึ้น 2 หรือ 3 เท่าแล้ว ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด อีกทั้งยังทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายต่อปีเป็นมูลค่าสูงโดยไม่จำเป็นแล้วหรือแม้แต่การนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) จากต่างประเทศมาช่วยควบคุมคุณภาพการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาได้ แต่อุปกรณ์เหล่านั้นมีราคาแพงและรูปแบบการปรับความเร็วยังมีจำกัด ไม่เหมาะต่อการทำ Quality of Services ที่สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งต้องแก้ปัญหาในเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม ไม่ใช่ความเร็วในการต่อเชื่อมที่ไม่เพียงพอดังนั้น บริษัทฯ จึงได้คิด “พัฒนาระบบโปรแกรมบริหารจัดการและควบคุมทรัพยากรอินเทอร์เน็ตที่มีความสามารถสูง” ขึ้นทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จากต่างประเทศที่มีราคาสูง โดยการพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจาก โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)โดยทาง iTAP ได้สนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายสำหรับ นายกรพรหม ถิระวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการเกษตรและการจัดการทรัพยากร ที่เข้ามาให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรมระบบบริหารจัดการและควบคุมทรัพยากรอินเทอร์เน็ตจนประสบผลสำเร็จ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทฯสำหรับคุณสมบัติของซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จากต่างประเทศที่มีราคาแพง (เฉลี่ยประมาณหลักแสนบาท) ขณะที่ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมีราคาถูกกว่า (เฉลี่ยประมาณหลักหมื่นบาท) แล้ว ยังมีคุณสมบัติการใช้งานมากกว่า อาทิ สามารถควบคุมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้อยู่ในความเร็วที่คงที่สม่ำเสมอ มีระบบจัดรูปแบบการใช้งานอินเทอร์เน็ต คือ สามารถจัดรูปแบบการบริการอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ที่ต้องการใช้ความเร็วที่สูงกว่าห้องอื่นๆ ได้ โดยไม่ไปรบกวนความเร็วการใช้อินเทอร์เน็ตของคนอื่น นอกจากนี้ ยังมีระบบการคิดราคา ระบบการออกรายงาน และระบบการตรวจสอบ หรือ Network Monitor Bandwidth ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ฮาร์ดแวร์ไม่มีดร.ศิริชัย กิตติวราพงศ์ ที่ปรึกษาเทคโนโลยี โครงการ iTAP ให้ความเห็นว่า ระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าว บริษัทใหญ่ๆ เช่น ไมโครซอฟต์หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทยไม่สามารถที่จะเข้ามาเป็นผู้ให้บริการและดูแลในรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ได้ จึงเป็นช่องว่างที่ให้ บริษัท ไอดิโอเทค จำกัด สบโอกาสทางการตลาดเข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์ทดแทนการใช้ฮาร์ดแวร์เป็นรายแรกของไทย เรียกได้ว่าเป็น “ระบบฉลาด หรือ ระบบอัจฉริยะ” ที่ทำให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถล็อคความเร็วได้ ทำให้ผู้ใช้บริการยินดีจ่ายในราคาที่เท่ากันหรืออาจจะแพงขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการความเร็วที่สูงขึ้นอีก ซึ่งระบบนี้สามารถการันตีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของผู้ใช้แต่ละคนว่าจะได้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอคงที่แน่นอน นอกจากนี้ ยังได้ถูกพัฒนาในรูปแบบ Zero Configuration หรือไม่ต้องปรับตั้งค่าใดๆ ก็ใช้งานได้เลย เพื่อรองรับการใช้งานของโน๊ตบุ๊คจากภายนอกเข้ามาใช้ภายในอาคารที่ทางไอดิโอเทคทำระบบให้ โดยสามารถเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการเซ็ตหรือแก้ไขค่าใดๆ สำหรับโปรแกรมท่องเน็ตอีก ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวหรือนักธุรกิจต่างประเทศที่ต้องเดินทางตลอดเวลา ในอนาคตยังสามารถให้บริการกับเครือข่ายไร้สายได้อีกด้วย ถือเป็นระบบที่สามารถให้บริการได้หลายรูปแบบ จึงเป็นเรื่องที่ดีช่วยลดการรั่วไหลเงินออกนอกประเทศได้อย่างมหาศาล และมองว่าเจ้าของอาคารต่างๆ จะสามารถให้บริการเข้าอินเทอร์เน็ตถึงห้องพักได้อย่างดี เป็นบริการที่ส่งเสริมธุรกิจได้โดยตรง

๓.ให้นักเรียนค้นหาข้อมุลความรุ้เกี่ยวกับธุรกิจซอฟท์แวร์ที่ได้บังคับใช้ในปัจจุบัน

คือลิขสิทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆโดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์สนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง[1]
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
Commercial ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่มุ่งในเรื่องการค้า เพราะการจะได้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทCommercial ware มาใช้นั้นผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้Commercial ware มีการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์อย่างเต็มที
Share ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เปิดโอกาสให้มีการทดลองใช้ก่อน เมื่อผู้บริโภคสนใจที่จะใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้น เจ้าของโปรแกรมหรือ ผู้พัฒนาโปรแกรมจะทำการเก็บเงินในการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นๆ[3][4]Share ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นเดียวกับ Commercial ware
Ad ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี แต่ก็มีการเก็บเงินบ้างเป็นบางครั้ง บวกกับการโฆษณาบนเว็บไซต์[5] Ad ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นกัน
Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าตอบแทนแต่อย่างได้ และสามารถนำโปรแกรมประเภทFree wareส่งต่อให้ผู้อื่นใช้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่มีการนำโปรแกรมนั้นไปขาย[6] Free ware มีการคุ้มครองน้อยหรือมีการคุมครองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันพัฒนาโปรแกรมประเภทOpen sourceได้อีกด้วยโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก่ไขโปรแกรมนั้นๆ

๔.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ของซอฟท์แวรืต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอนซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่เห้นด้วยอย่างไร

ตอบ เห็นด้วย เพราะซอฟท์แวร์ที่เราเรียนอยู่นั้นได้เกิดจากความคิดของผู้พัฒนา

บทที่ ๖ ระบบปฏิบัติการ

๑.บอกความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ

ตอบ ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างการทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

หน้าที่หลักของระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย ๓ หน้าที่หลักได้แก่ การติดต่อกับผู้ใช้ การควบคุมอุปกรณ์และการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และการจัดสรรทรัพยากรภายในระบบ

๒.จำแนกประเภทของระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ

๑.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแกผู้ใช้เพียงผู้เดียว

๒.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย เป็นระบบการปฏิบัติการที่รองรับการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบการทำงานแบบ Multi-user ใช้สำหรับการปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือ หน่วยงานทั่วๆไป
๓.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง
๓.อธิบายองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ๑.การจัดการไฟล์
๒.การจัดการหน่วยความจำ
๓.การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล
๔.การจัดการกับหน่วยประเมินผลกลาง
๕.การจัดการความปลอดภัยของระบบ

๔.บอกระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันได้
ตอบ ปัจจุบันมีระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมชนิดต่างๆได้แก่ ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลินุกซ์ แมคอินทอช



กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

๑.ในระบบปฏิบัติการ window 7 มีระบบ License ทั้งในแบบ FPP และ OEM License ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และถ้านักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานภายในบ้านนักเรียนจะต้องใช้รูปแบบ License แบบใด

ตอบ FPP สามารถย้ายข้อมูลจากเครื่องเก่าไปยังเครื่องใหม่ได้ OEM ไม่สามารถย้ายข้อมูลไปเครื่องใหม่ได้และถ้าจะซื้อก็จะซื้อแบบ FPP เพราะ ถ้าเครื่องเก่าเสียหายก็สามารถย้ายข้อมูลใส่เครื่องใหม่ได้

๒.ให้นักเรียนเสนอความคิดว่า การเก็บค่าลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการWindows จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค และมีวิธีหลีกเลี่ยงค่าลิขสิทธิ์หรือไม่ อย่างไร

ตอบ มี คือ ด้านค่าใช้จ่าย ไม่มีวิธีหลีกเลี่ยงค่าลิขสิทธิ์ เพราะ แต่ละลิขสิทธิ์ก็ล้วนแต่มีเจ้าของลิขสิทธิ์

๓.ให้นักเรียนนำเสนอความคิดเห็นว่า การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของคนไทย เมื่อในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าดูแลพัฒนาซอฟต์แวร์ในสายพันธุ์ไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เองแต่ยังมีปัญหาเรื่องของการเผยแพร่และนำมาใช้งานอย่างจริงจัง นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้คนไทยมาร่วมกันใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย และจะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประเทศในอนาคต

ตอบ จัดนิทรรศการให้มีการแข่งขันพัฒนาซอฟท์แวร์โดยคนไทยขึ้น และจัดนิทรรศการให้เยี่ยมชมเป็นความรู้




กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

การเปรียบเทียบลักษณะต้นน้อยหน่ากับคน

การเปรียบเทียบลักษณะต้นน้อยหน่ากับคน

การเปรียบเทียบด้านรูปร่าง
ด้านเหมือน

1.ลำต้นเปรียบเสมือนลำตัวที่คอยพยุงไม่ให้ล้มเมื่อเจอลมพายุ

2.ใบเปรียบเสมือนปากที่คอยสังเคราะห์แสงให้พลังงานแก่ต้น

3.ผลเปรียบเสมือนพลังงานในร่างกายที่ได้รับอาหารแล้วเก็บสะสมไว้

4.รากเปรียบเสมือนขาที่คอยยึดลำต้นให้คงอยู่

ด้านต่าง

1.ลำต้นต่างจากลำตัวของมนุษย์คือมีผนังเซลล์คอยป้องกันแต่มนุษย์ไม่มี

2.ใบต่างจากปากของมนุษย์คือสังเคาระห์แสงเมื่อมีแสงเท่านั้นแต่มนุษย์ได้รับอาหารตามที่ต้องการ
3.ผลต่างจากพลังงานในร่างกายคือเก้บพลังงานไว้โดยไม่มีการใช้พลังงานแต่มนุษย์ใช้ตลอดเวลา
4.รากต่างจากขาของคนคือหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว

เปรียบเทียบด้านจิตใจ
ด้านเหมือน
1.ดอกเปรียบเสมือนเสน่ห์ของมนุษย์ถ้าสวยก็จะมีแต่คนมารุมจีบเหมือนแมลงที่มาตอมดอกไม้
ด้านต่าง
1.ดอกต่างจากมนุษย์คือดอกไม้จะกลายเป็นผลแต่เสน่ห์ของมนุษย์ไม่สามารถที่จะกลายเป็นอย่างอื่นได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ซอฟท์แวร์(software)กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มเติมให้นักเรียน

๑.บอกความหมายและประเภทของซอฟท์แวร์ได้


ตอบ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ต้องการ


สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ซอฟท์แวร์ระบบ ซอฟท์แวร์ประยุกต์


๒.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้


ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนามาหลายยุคเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมจัดแบ่งภาษคอมพิวเตอร์ออกเป็น ๕ ยุคตั้งแต่ยุคที่ ๑-๕โดยภาในยุคที่๑จะจัดอยู่ในภาระดับต่ำเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องทำให้สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงและพัฒนารูปแบบของภาษคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเรื่อยๆจนกระทั่งในยุคที่ ๕ เป็นรูปแบบภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษามนุษยมากขึ้นหรือที่เรียกว่าภาษาธรรมชาติ

๓.อธิบายรูปแบบของตัวแปลภาษาได้

ตอบ แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง

อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัดตลอดทั้งโปรแกรมทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็วแต่ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลโดยการใช้อินเตอร์พรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้จะจะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน

♦ คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลนั้นสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้นำไปใช้ในการทำงานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีของคอมไพเลอร์ที่จะนำผลที่ได้จากการแปลนั้นไปใช้งานกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้เป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโคดไปเป็นรหัสชั่วคราวหรืออินเทอมีเดียตโคด (Intermediate code)ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรมในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้นโดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องที่มีโปรแกรมตีความได้ทันที

การเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

การเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

ในการศึกษาทางอนุกรมวิธานพืช มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บตัวอย่างพรรณไม้และเก็บรักษาไว้เพื่อการศึกษา วิธีเก็บรักษาตัวอย่างวิธีที่ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดคือ การอัดแห้ง แม้ว่าการอัดแห้งจะทำให้ความสวยงามของตัวอย่างพรรณไม้ลดลง แต่ก็ยังคงคุณค่าทางวิทยาศาสตร์สามารถเก็บไว้ศึกษาได้นานเป็นร้อยปี ถ้าได้มีการจัดทำและเก็บรักษาอย่างถูกวิธี

ประโยชน์ของการเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

1.1 เป็นหลักฐานว่าในแต่ละท้องถิ่นมีพืชชนิดใดบ้าง
1.2 เป็นข้อมูลให้ทราบว่าในแต่ละช่วงเวลามีพืชชนิดใด
1.3 ทำให้สามารถศึกษาพืชนั้น ๆ ได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นช่วงฤดูเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะพืชป่าหรือพืชที่หายาก
1.4 มีข้อมูลจากป้ายบันทึกที่ติดอยู่บนตัวอย่างมากกว่าที่ศึกษาจากต้นพืช
1.5 ตัวอย่างพืชที่อัดแห้งและทราบชื่อที่ถูกต้องแล้ว เรียกว่า ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ herbarium specimen ซึ่งบางคนอาจเรียกย่อ ๆ ว่า herbarium ( พหูพจน์ herbaria ที่จริงแล้วคำนี้หมายถึงสถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ พิพิธภัณฑ์พืช นั่นเอง ) สามารถใช้อ้างอิงได้เหมือนหนังสือ

การเก็บและอัดตัวอย่างพรรณไม้
2.1 อุปกรณ์
1) แผงอัดพรรณไม้( plant press ) ขนาด 30 x 46 ซม. หรือ 12 x18 นิ้ว 1 คู่ (ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ไผ่ สานกันเป็นตาราง ตอกตะปูยึดให้ติดกัน)
2) เอกสำหรับรัดแผงอัด 2 เส้น ( นิยมใช้เชือกไส้ตะเกียง )
3) กรรไกรตัดกิ่งไม้หรือมีด
4) กระดาษอัดพรรณไม้ นิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นคู่พับครึ่งสำหรับวางตัวอย่างพรรณไม้ที่จะอัด
5) กระดาษลูกฟูก หรือกระดาษกล่อง ใช้สำหรับคั่นระหว่างตัวอย่างพรรณไม้แต่ละชิ้นเพื่อให้พรรณไม้เรียบ และระบายความชื้นได้ดี
6) ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ – เล็ก พร้อมยางรัดปากถุง
7) สมุดบันทึกและป้ายหมายเลขผูกตัวอย่างพรรณไม้

2.2 วิธีการเก็บ
1) เลือกกิ่งที่มีใบ ดอก และผล ( ถ้ามี )ที่สมบูรณ์ที่สุด 2 – 3 กิ่ง ต่อพรรณไม้ 1 ชนิด แล้วใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หรือมีดคม ๆ ตัด
2) ถ้าเป็นพืชมีใบเดี่ยวควรตัดกิ่งมาด้วย ถ้าเป็นใบประกอบต้องตัดมาให้หมดทั้งใบจะตัดมาเฉพาะใบย่อยไม่ได้
3) ถ้าเป็นพรรณไม้ล้มลุกควรเก็บถอนมาทั้งรากและต้น ถ้ามีความยาวเกินขนาดของแผ่นกระดาษ เวลาอัดอาจพับใบและต้นให้มีลักษณะคล้ายรูป L M N V หรือ W ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม
4) ระหว่างตัด เก็บตัวอย่าง ควรผูกป้ายหมายเลขลำดับประจำตัวอย่างไว้ด้วย พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดลงในสมุดบันทึกดังนี้
· ท้องที่ที่เก็บ ( Locality ) บันทึกรายละเอียดของจังหวัด อำเภอ ตำบล ถนน หรือท้องที่ป่า
· ความสูงจากระดับน้ำทะเล( altitude ) โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าอัลติมิเตอร์ ( altimeter )
· วันเดือนปีที่เก็บ ( date )
· ชื่อพื้นเมือง ( Local name )
· ข้อมูลอื่น ๆ ( note ) ลักษณะของพืชที่ ลักษณะวิสัยของพืช ความสูงของต้น ลักษณะของพืชที่อาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อตัวอย่างแห้ง เช่น สี กลิ่น เป็นต้น พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่นนั้น ๆ
· ชื่อผู้เก็บ (collector ) และหมายเลขที่เก็บ ( collecting number ) แต่ละคนจะใช้หมายเลขของตนเรียงลำดับติดต่อกันไป

2.3 วิธีการอัดแห้ง
นำตัวอย่างพรรณไม้มาทำความสะอาด แล้ววางลงบนด้านในของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่พับครึ่งไว้ จัดแต่งให้สวยงามให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ถ้าต้องตัดใบ หรือกิ่งย่อยที่เกินออก ควรตัดเหลือโคนใบหรือโคนกิ่งไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาในภายหลัง จัดให้ใบและดอกคว่ำบ้าง หงายบ้าง จากนั้นจึงปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก ทำซ้อน ๆ กัน เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดตัวอย่าง หรือตั้งสูงพอประมาณ ก็ปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูกทั้งด้านบนและด้านล่าง ก่อนที่จะปิดด้วยแผงอัดพรรณไม้ เสร็จแล้วใช้เชือกรัดให้แน่น นำไปตากแดดโดยการตั้งแผงอัดพรรณไม้ขึ้น ถ้าแดดจัดตัวอย่างพรรณไม้จะแห้งภายใน 3 – 5 วัน หรืออาจจะนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 40- 60 องศาเซลเซียส ประมาณ 48 ชั่วโมง ระหว่างนี้ต้องหมั่นเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันมิให้ตัวอย่างตายนึ่ง เน่า หรือเกิดเชื้อราได้
อนึ่งถ้าตัวอย่างพรรณไม้มีดอกขนาดใหญ่ควรผ่าครึ่งดอกตามยาว ผลที่มีขนาดใหญ่ควรตัดผลเป็นแผ่นตามยาวหรือตามขวางแล้วจึงค่อยนำไปทำให้แห้ง จะช่วยให้แห้งได้เร็วขึ้นส่วนของกลีบดอกที่บางมาก ๆ ควรวางในกระดาษไข เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกติดบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ในกรณีที่พรรณไม้มีดอกและใบติดบนกิ่งที่มีขนาดใหญ่เมื่ออัดแห้งเสร็จแล้วดอกและใบมักร่วงหลุดออกจากกิ่ง เนื่องจากถูกแรงอัดของแผงอัดหรือดอกและใบไม่เรียบเนื่องจากมีกิ่งหนุนอยู่ ทำให้แผ่นใบและกลีบดอกไม่ได้ถูกทับให้เรียบ ดังนั้นเมื่ออัดตัวอย่างประเภทนี้ จึงควรใช้กระดาษพับเป็นชิ้นให้มีขนาดและความหนาพอดีที่จะหนุนให้ใบและดอกอยู่ระดับเดียวกับกิ่งที่มีขนาดใหญ่นั้น จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
ถ้าไม่สามารถอัดตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาได้ให้เสร็จในคราวเดียวกันควรรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในถุงพลาสติกที่ใส่น้ำไว้ในก้นถุงเล็กน้อยและเป่าลมให้ถุงพองออก รัดปากถุงด้วยยางรัดให้แน่นเก็บไว้ในที่ร่มหรือในตู้เย็นได้ 1 – 2 วัน แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรอัดและทำให้แห้งทันทีหลังจากที่เก็บมาแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 – 6 ชม. เพราะอาจทำให้ตัวอย่างเน่าเสียหายได้

2.4 การอาบน้ำยา
ก่อนที่จะนำตัวอย่างพรรณไม้ที่ทำให้แห้งแล้วไปติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้ควรอาบน้ำยาก่อนเพื่อป้องกันแมลงศัตรูมากัดทำลาย จะช่วยให้เก็บรักษาตัวอย่างพรรณไม้แห้งไว้ได้นาน
2.4.1. อุปกรณ์
1) อ่างเคลือบ หรือ อ่างพลาสติก ขนาด 12 x 20 นิ้ว 1 ใบ
2) ปากคีบพลาสติก หรือ ไม้ที่มีด้ามยาว 1 – 2 อัน
3) ถุงมือ 1 คู่ ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสน้ำยา
4) หน้ากากป้องกันกลิ่น
5) น้ำยาอาบพรรณไม้ ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้
ฟีนอล 20 มิลลิลิตร
เมอคิวริกคลอไรด์ 28 กรัม
แอลกอฮอล์ล 95 % 1 ลิตร

ข้อควรระวัง น้ำยาอาบพรรณไม้นี้เป็นพิษต่อร่างกาย ไม่ควรสูดดมหรือสัมผัสถูกร่างกาย เวลาใช้ควรใส่หน้ากากและถุงมือ หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะจะถูกน้ำยากัดจนเสียหายได้ และไม่ควรเทน้ำยาผ่านท่อระบายน้ำ
2.4.2 วิธีการ
1) เทน้ำยาอาบพรรณไม้ลงในอ่างเคลือบ
2) นำตัวอย่างพรรณไม้ที่แห้งสนิทดีแล้วแช่ลงในน้ำยาประมาณ 1 นาที ให้น้ำยาท่วมตัวอย่าง
3) ใช้ปากคีบ คีบตัวอย่างมาวางลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ วางเรียงซ้อนกัน แล้วคั่นและปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก นำเข้าแผงอัดพรรณไม้เหมือนตอนที่อัดตัวอย่าง
4) มัดแผงให้แน่น แล้วนำไปตากแดดหรืออบให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง

การติดตัวอย่างบนกระดาษติดพรรณไม้

เพื่อความคงทนถาวรของตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และเพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบในการเก็บรักษา ควรนำตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่อาบน้ำยาแล้วไปเย็บติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้ 2.5.1 อุปกรณ์
1) กระดาษติดพรรณไม้สีขาวขนาด 11.5 x 16.5 นิ้ว พร้อมปก
2) กระดาษป้ายบันทึกข้อมูล ขนาด 4 x 6 นิ้ว
3) ด้ายเส้นใหญ่ เข็ม หรือกาว 2.5.2 วิธีการ
1) เลือกตัวอย่างพรรณไม้ที่อาบน้ำยาและทำให้แห้งแล้วชิ้นที่ดีและครบสมบูรณ์ที่สุดของแต่ละชนิด มาวางบนกระดาษติดแผ่นไม้
2) จัดตำแหน่งให้เหมาะสม และสวยงาม อย่าให้มีส่วนของพืชเลยขอบกระดาษออกมา
3) ใช้เข็มเย็บตรึงด้วยด้ายเป็นระยะๆ บางตำแหน่งอาจใช้กาวอย่างดีติดตรึงไว้ก็ได้ เช่น แผ่นใบ กลีบดอก เมื่อกาวติดแล้วควรใช้วัตถุหนักๆ ทับเพื่อช่วยพรรณไม้ติดแน่นยิ่งขึ้น
ถ้าต้องการติดตัวอย่างพรรณไม้หลายชิ้นบนกระดาษแผ่นเดียวกัน ( ส่วนมากเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก) ควรติดให้อยู่ในทิศทางเดียงกันและควรติดชิ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทางด้านล่างของกระดาษ ถ้าเป็นตัวอย่างพืชที่มีส่วนของดอก ผล หรือ เมล็ดน้อย หายาก ขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย ให้บรรจุชิ้นส่วนดังกล่าวในซองที่ตัดและพับด้วยกระดาษสีขาวและติดซองนี้บนกระดาษติดแผ่นไม้ในตำแหน่งที่สวยงามและเหมาะสม
การติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้

หลังจากติดตัวอย่างพรรณไม้ลงบนกระดาษตอดพรรณไม้เรียบร้อยแล้ว จะติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ขนาดประมาณ 4 x 6 นิ้ว ที่มุมขวาด้านล่างของกระดาษติดตัวอย่างพรรณไม้ข้อมูลที่จะบันทึกลงบนป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ประกอบด้วย
1) หัวกระดาษ (heading) ชื่อหน่วยงาน จังหวัด ประเทศ
2) ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) พร้อมทั้งชื่อผู้ที่ตั้ง
3) ชื่อพื้นเมือง (local name)
4)สถานที่เก็บ(location,locality) ควรบอกให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การกระจายพันธุ์ ของพรรณไม้นั้น และในกรณีที่ต้องการตัวอย่างสดมาศึกษาวิจัยก็สามารถที่ติดตามแหล่งที่พืชนั้นเจริญอยู่ได้
5) วันเดือนปี ที่เก็บ ( date )
6) ลักษณะของพืชที่สังเกตเห็น (remark , note) เช่น
- habit ลักษณะของทรงพุ่ม เรือนยอด เปลือก ไม้ต้น ไม้ล้มลุก
- habitat ที่อยู่อาศัย ลักษณะสภาพของพื้นที่ที่พืชนั้นขึ้นอยู่