วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล





1.สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก


จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่ใช้งานกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล และ มีราคาต่อหน่วยถูก หลักการที่จานแม่เหล็กใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูลคือการเปลี่ยนสถานะทางแม่เหล็กบนผิวของสื่อบันทึกข้อมูล โดยสถานะนั้นจะยังคงอยู่ตลอดเพื่อให้สามารถดึงขึ้นมาอ่านได้ใหม่ในภายหลัง และเนื่องจากจานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เข้าถึงข้อมูลแบบโดยตรง แต่ละด้านของแผ่นจาน (platter) จะมีการแบ่งแผ่นจานเป็นวงชั้นซ้อน ๆ กัน ซึ่งเรียกว่า track และแต่ละ track จะมีการกำหนดหมายเลขประจำไว้ และเมื่อต้องการใช้งานแผ่นดิสก์จะต้องนำแผ่นดิสก์นั้นไปผ่านกระบวนการฟอร์แมต (format) ก่อน ซึ่งเมื่อ format แล้วแผ่นจานจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเท่า ๆ กันในทุก track เหมือนกับการตัดเค้ก ซึ่งเราเรียกส่วนย่อยเหล่านี้ว่า sector และ ส่วนย่อยที่สุดที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ซึ่งเกิดจากการนำส่วนย่อยของ track ตั้งแต่ 2 – 8 track ขึ้นไป จะเรียกว่า clusterจานแม่เหล็กแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ - แผ่นดิสก์ (Diskette) หรือบางครั้งก็เรียกกว่า Floppy Disk ทำจากพลาสติก ทำให้มีน้ำหนักเบา แผ่นดิสก์ เหมาะสำหรับเก็บข้อมูล หรือ โปรแกรม ที่มีขนาดเล็ก ในปัจจุบัน แผ่นดิสก์ที่นิยมใช้มีขนาด 3.5 นิ้ว โดยยังมีความจุให้เลือกใช้งานหลายระดับได้แก่ Double density ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ 720 KB และแบบ High density ซึ่งเก็บข้อมูลได้ 1.44 MB ปัจจุบันได้มีการประยุกต์เพื่อให้มี Floppy Disk ที่มีความจุมากขึ้น เช่น ZIP Drive ของบริษัท iomega ซึ่งสามารถจุข้อมูลได้ 100 MB และ 250 MB หรือ Laser-Servo Drive(LS Drive) ที่สามารถจุข้อมูลได้ 120 MB และยังสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่น Floppy Disk ทั่วๆ ไปได้ และตอนนี้บริษัท Sony ได้พัฒนา HIFD Drive ขึ้นมาซึ่งสามารถจุข้อมูลได้ 200 MB และยังสามารถเข้าถึง ข้อมูลได้เร็วกว่า Zip Drive และ LS Drive อีกด้วย - จานแม่เหล็กแบบแข็ง (Hard disk) มีข้อดีคือสามารถบันทึกสารสนเทศได้จำนวนมาก และมีความเร็วสูงกว่า Diskette ในการโอนสารสนเทศเข้าสู่ RAM หรือจาก RAM สู่ฮาร์ดดิสก์ หน่วยขับจานบันทึก (disk drive) ประกอบด้วย access arms จำนวนเท่ากับแผ่นจานแม่เหล็ก (disk platter) ปลายแขนมีหัวอ่านและหัวเขียน (read/write head) สำหรับอ่านและบันทึกสารสนเทศบนแผ่นจานแม่เหล็ก ซึ่งจานแม่เหล็กจะมีสัณฐานกลมและร่องซ้อนกันอยู่อย่างหนาแน่น แต่ละร่องบนแผ่นเรียกว่า track โดย access arm จะเลื่อนเข้าสู่แผ่นเพื่อให้หัวอ่านหรือหัวเขียนทำงาน (ไม่พร้อมกัน) บน track ที่โปรแกรมระบุไว้ ทั้งนี้ access arms จะเลื่อนเข้า-ออกบนแผ่นอย่างพร้อมกัน ด้วยเทคนิคนี้เองมีศัพท์เรียกว่า cylinder method กล่าวคือ access arms ทุกแขนเคลื่อนเข้า-ออกบนแผ่นอย่างพร้อมกันและหัวอ่าน/เขียนจะทำงานบน tracks เดียวกันของทุกแผ่น แต่ละแผ่นของฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วย track เป็นพัน ๆ และสารสนเทศในรูปของแฟ้มข้อมูลก็บันทึกอยู่บน track เหล่านี้


ฮารดดิสก์
กล่าวคือ ฮาร์ดิสก์จะทำงานหมุนแผ่นโลหะกลมที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล(ptatters) อยู่ตลอดเวลา การเข้าไปอ่านหรือเขียนฮาร์ดดิสก์แต่ละครั้ง หัวอ่านซึ่งลอยอยู่เหนือผิวดิสก์โลหะนิดเดียว ขนาดความจุ ความสามารถ และรูปแบบของฮาร์ดิสก์ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวาดเร็วหลังจากมีการเปิดตัวฮาร์ดิสก์พร้อมๆ กับเครื่อง IBM XT จากเดิมมีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ มีความหนา 3 ถึง 4 นิ้ว จนต้องใช้ช่องใส่ขนาด 5.25 นิ้ว ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล 87 มิลลิวินาที เปลี่ยนไปเป็นความจุ 200 เมกะไบต์ มีขนาดเล็กกว่าฟลอปปี้ดิสก์ 3.5 นิ้ว นิ้ว ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล 18 มิลลิวินาที และในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงความจุ เป็นหน่วยกิกะไบต์แล้ว ขนาดก็เล็กลงพร้อมกันนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์แล้ว
1. ตัวถังของฮาร์ดิสก์จะเป็นแผ่นโลหะจะเป็นแผ่นโลหะหุ้มโดยรอบและไม่มีรอยรั่วเพื่อป้องกันฝุ่นผงเข้าตัวฮาร์ดดิสก์ สาเหตุที่เตาต้องป้องกันฝุ่นผงก็คือ ฝุ่นผงมักจะมีขนาดใหญ่พอที่จะเข้าไปแทรกช่องว่าระหว่างหัวอ่านกับแผ่นดิสก์ ครั้นหัวอ่านเคลื่อนที่ก็จะเป็นการลากถูฝุ่นผงไปบนผิวดิสก์ ทำให้สารแม่เหล็กที่เคลือบผิวเป็นรอยขีดข่วนเสียหาย และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้
2. ที่ด้านล่างสุดเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบตุมการทำงานของหัวอ่านและการหมุนดิสก์ เราเรียกแผงวงจรนี้ว่า ลอจิกบอร์ด (logic board) แล้วแปลงคำสั่งดังกล่าวให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อกระทำหัวอ่านให้เป็นแม่เหล็กตามจังหวะ ข้อมูลที่ป้อนให้กับมัน นอกจากนั้นลอกจิกบอร์ดยังทำหน้าที่ควบคุมความเร็วในการหมุนดิสก์ให้คงที่ และบอกให้หัวอ่านเคลื่อนที่ไปมายังบริเวณข้อมูลที่ต้องการเขียน/อ่านอีกด้วย สำหรับดิสก์ที่เป็นระบบ IDE (Intergrated Drive Electribuc/x) คอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมดิสก์จะประกอบเป็นส่วนหนึ่งของลอจิกบอร์ดไปเลย
3. แกนหมุนซึ่งประกอบด้วยแผ่นดิสก์โลหะ 4 แผ่น 8 หน้า จะเชื่อมติดกับมอเตอร์แล้วหมุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อวินาที จำนวนแผ่นดิสก์และหน้าดิสก์ที่มีการเคลือบสารแม่เหล็กจะเป็นตัวบอกขนาดความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ อนึ่ง การเคลือบสารแม่เหล๊กที่เป็นอัลลอย(alloy) จะเคลือบบางเพียงเศษสามส่วนล้านนิ้วเท่านั้น
4. แกนหัวอ่านซึ่งถูกกระตุ้นการทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า จะถึงหรือผลักแขนหัวอ่านให้วิ่งไปทั่วแผ่นดิสก์ด้วยความแม่นยำ โดยการปรับแต่งการหมุนของแกนหัวอ่านจะกระทำอยู่ตลอดเวลา โดยการอ่านตำแหน่งแทร็กที่มีการเขียนเป็นแนววงกลมทั่วไปบนแผ่นดิสก์
5. หัวอ่าน/เขียน จะติดอยู่กับแขนที่ยิ่นออกไปบนแผ่นดิสก์ เวลาเขียนข้อมูล หัวอ่านจะนำข้อมูลที่มาจากตัวควบคุมดิสก์(disl controller) แปลงเป็นสนามแม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำให้สารเคลือบผิวเกิดการเรียงตัวใหม่ โดยให้เป็นไปในทิศทางของข้อมูลในทางกลับกันหรือในการอ่านหัวอ่านก็จะว่างผ่านสนามแม่เหล็กที่เกิดจากสารแม่เหล็กที่ผิว แล้วถอดรหัสสนามแม่เหล็กเหล่านั้นให้กลายเป็นข้อมูล
6. เมื่อซอฟต์แวร์ของคุณบอกให้ดอสอ่านหรือเขียนข้อมูล ดอสจะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปที่แฟต (FAT) ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บดัชนีชี้ตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์ต่างๆ บนดิสก์ ข้อมูลในแฟตนี้จะทำให้หัวอ่านสามารถกระโดดไปอ่านข้อมูลไฟล์ที่คลัสเตอร์นั้นๆ ได้ทันที กรณีที่เป็นการเขียนข้อมูล หัวอ่านก็จะกระโดดไปคลัสเตอร์ที่แฟตบอกว่าว่างได้เช่นเดียวกัน
7. ไฟล์หนึ่งๆ อาจถูกแบ่งซอยออกเป็นหลายคลัสเตอร์ แต่ละคลัสเตอร์อาจอยู่บนและแผ่นคนละหน้าดิสก์ก็ได้ การไม่ต่อเนื่องของไฟล์นี้เองทำให้แฟต (FAT) มีความสำคัญ กล่าวคือ แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ใดเป็นคลัสเตอร์เริ่มต้น จากนั้นจะมีการบอกคลัสเตอร์ต่อไปของไฟล์เหมือนการโยงโซ่ไปเรื่องๆ จนครบทั้งไฟล์ ในการกรณีที่มีการเขียนข้อมูลลงดิสก์ แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ไหนที่ว่าง ดอสก็จะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปเขียนข้อมูลในคลัสเตอร์ที่ว่าง ซึ่งอาจจะมีหลายคลัสเตอร์ที่ไม่ต่อเนื่อง เมื่อเขียนเสร็จดอสจะสั่งให้หัวอ่านกลับไปที่แฟตอีกที เพื่อเขียนบันทึกการโยงคลัสเตอร์แต่ละคลัสเตอร์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งไฟล์
2.สื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง


CD-ROM Drive
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป
ความเร็วของไดรว์ซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรว์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดรว์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ส่วนไดรว์ที่มีความเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล ตามตาราง
3.1 การทำงานของ CD-ROM
ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรว์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก “แลนด์” สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก “พิต” ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
3.2 ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time)
ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลคือ ช่วงระยะเวลาที่ไดรว์ซีดีรอมสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม แล้วส่งไป ประมวลผล หน่วยที่ใช้วัดความเร็วนี้คือ มิลลิวินาที (milliSecond) หรือ ms ปกติแล้วความเร็วมาตรฐานที่ เป็นของไดรว์ซีดีรอม 4x ก็คือ 200 ms แต่ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดรว์ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วที่แท้จริงนั้นจะขึ้นอยู่ กับว่าข้อมูลที่กำลังอ่าน อยู่ในตำแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งด้านใน หรือวงในของแผ่นซีดี ก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของแผ่น ก็จะทำให้ความเร็วลดลงไป
3.3 แคชและบัฟเฟอร์
ไดรว์ซีดีรอมรุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชหรือบัฟเฟอร์ติดตั้งมาบนบอร์ดของซีดีรอมไดรว์ มาด้วย แคชหรือบัฟเฟอร์ที่ว่านี้ก็คือชิปหน่วยความจำธรรมดาที่ติดตั้งไว้เพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนที่จะส่ง ข้อมูลไปประมวลผลต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านข้อมูลจากไดรว์ซีดีรอม ซึ่งแคชนี้มีหน้าที่เหมือน กับแคชในฮาร์ดดิสก์ที่จะช่วยประหยัดเวลา ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี เพราะถ้าข้อมูลที่ร้องขอมามีอยู่ ในแคชแล้ว ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปอ่านข้อมูลจากแผ่นอีก ขนาดของแคชในไดรว์ซีดีรอมทั่วๆ ไปก็คือ 256 กิโลไบต์ ซึ่งถ้ายิ่งมีแคชที่มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล ให้สูงขึ้นไปอีก
ข้อดีของการติดตั้งแคชลงไปในไดรว์ซีดีรอมก็คือ แคชจะช่วยให้สามารถรับ-ส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็ว สม่ำเสมอ เมื่อแอพพลิเคชั่นร้องขอข้อมูล มายังไดรว์ซีดีรอม แทนที่จะต้องไปอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งมี ความเร็วต่ำ ก็สามารถอ่านข้อมูล ที่ต้องการจากแคช ที่มีความเร็วมากกว่าแทนได้ ยิ่งมีแคชจำนวนมากแล้วก็ สามารถที่จะเก็บข้อมูลมาไว้ในแคชได้เยอะขึ้น ทำให้เสียเวลาอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีน้อยลง
3.4 อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอม
อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอมมีอยู่ 2 ชนิดคือ IDE ซึ่งมีราคาถูก มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลอยู่ในขั้น ที่ยอมรับได้ และชนิด SCSI มีราคาแพงกว่าแบบ IDE แต่ก็จะมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้นด้วย เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นซีดีเซิร์ฟเวอร์ เพราะต้องการความเร็ว และความแน่นอนในการส่งถ่ายข้อมูลมากกว่า
ไดรว์ซีดีรอมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก แบบติดตั้งภายในมีข้อดีคือ ประหยัดพื้นที่ในการวางซีดีรอมไดรว์และไม่ต้องใช้อินเตอร์เฟตเพื่อจ่ายไฟให้กับไดรว์ซีดีรอม และที่สำคัญมีราคาถูกกว่าแบบติดตั้งภายนอก แบบติดตั้งภายนอกมีข้อดีคือ สามารถพกพาไปใช้กับ เครื่องอื่นได้สะดวก

3.1 ชนิดของ CD-ROM
3.1.1 ชนิดที่อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว
ซีดีรอมไดรว์จะมีการบอกเสปคเป็น ”x” เดี่ยวๆ เช่น48 x หรือ52 x ก็จะหมายถึงอ่านข้อมูลได้ที่ความเร็ว 48x และ 52 x ตามลำดับ
3.1.2 ชนิดที่สามารถอ่านและเขียนบันทึกข้อมูลได้
ซีดีอาร์ไดรว์
CD-R Driveย่อมาจาก
CD Recordable Driveซึ่งนอกจากจะอ่านแผ่นซีดีแล้วยังสามารถเขียนบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R : CD-Recordable ที่เป็นแผ่นซีดีแบบบันทึกข้อมูลอย่างเดียวได้อีกด้วยโดยจะมีการแบ่งสเปคไว้ 2 ตัว เช่น 4x24 หมายถึงเขียนข้อมูลได้ที่ 4 x ละอ่านข้อมูลได้ที่ 24x เป็นต้น
3.1.3 ชนิดที่สามารถอ่านบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้
ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ CD-RW Drive ย่อมาจาก CD-ReWritable Drive ที่สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R อีกทั้งยังเขียนและลบข้อมูลจากแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวCD-RW ที่สามารถเขียน และลบข้อมูลได้ เหมือนฮาร์ดดิสก์อีกด้วยซึ่งจะแบ่งสเปคออกเป็น 3 ตัว เช่น12x 12x32xสามารถเขียน CD-R ได้ที่ความเร็ง 12x เขียน CD-RW ได้ที่ความเร็ว 12x และอ่านข้อมูลได้ที่ 32x
4. DVD-ROM Drive
ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร ) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี ( DVD Writer ) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี
4.1 คุณสมบัติของดีวีดี
4.1.1 สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที
4.1.2 การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
4.1.3 สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
4.1.4 มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
4.1.5 ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
4.1.6 สามารถทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
4.1.7 ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
4.1.8 มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)
4.2 ชนิดของแผ่นดีวีดีที่ใช้บันทึกนั้นมีอยู่ 6 ชนิด คือ
4.2.1 DVD-R
4.2.2 DVD+R
4.2.3 DVD-RW
4.2.4 DVD+RW
4.2.5 DVD-R DL
4.26 DVD+R DL
4.3 ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW
ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW คือ สามารถนำกลับมาบันทึกใหม่ ได้กว่า 100,000 ครั้ง แต่ดีวีดีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันนี้คือ DVD-R ในการบันทึก DVD แต่ละชนิดนั้นไม่สามารถใช้งานข้ามชนิดได้ คือ ไม่สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟได้ เช่น DVD-RW ไม่สามารถใช้งานในเครื่องบันทึก DVD+RW ได้ ต้องเขียนกับเครื่องบันทึก DVD-RW เท่านั้น ส่วนการอ่านข้อมูลใน DVD นั้น สามารถอ่านกับเครื่องไหนก็ได้ เช่น DVD+RW สามารถอ่านกับเครื่องเล่น DVD-RW ได้
4.4 โซนของแผ่นดีวีดี
แผ่นดีวีดีที่ใช้บรรจุภาพยนตร์นั้น จะมีการบรรจุรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes) หรือ โซน (Zone) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ในแต่ละแผ่นจะบรรจุรหัสไว้อย่างน้อย 1 โซน สำหรับแผ่นที่สามารถใช้ได้กับทุกโซน (All Zone) นั้น จะบรรจุรหัสเป็น1,2,3,4,5,6 นั่นเอง แผ่นพวกนี้ในบางครั้งนิยมเรียกว่าแผ่นโซน 0 โดยปกติเครื่องเล่นดีวีดี รวมถึงดีวีดีรอม ที่ผลิตในแต่ละประเทศ จะสามารถเล่นได้เฉพาะแผ่นที่ผลิตสำหรับโซนนั้นๆ และแผ่นที่ระบุเป็น All Zone เท่านั้น โซนพื้นที่
4.4.1 สหรัฐอเมริกา, แคนาดา
4.4.2 ยุโรป, ญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้, ตะวันออกกลาง ( รวมถึง อียิปต์ )
4.4.3 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( รวมถึง ประเทศไทย ), เอเชียตะวันออก ( รวมถึง ฮ่องกง แต่ไม่รวม จีน )
4.4.4 อเมริกากลาง, อเมริกาใต้, โอเชียเนีย
4.4.5 ยุโรปตะวันออก, รัสเซีย, เอเชียใต้, แอฟริกา, เกาหลีเหนือ, มองโกเลีย
4.4.6 จีน
4.4.7 สำรอง
4.4.8 ยานพาหนะระหว่างประเทศ เช่น เรือ, เครื่องบิน
สำหรับโซน 2 (ยุโรป) อาจจะมีรหัสย่อยตั้งแต่ D1 จนถึง D4 โดย D1 คือจำหน่ายเฉพาะประเทศอังกฤษ, D2 และ D3 กำหนดว่าไม่จำหน่ายในอังกฤษและไอร์แลนด์ ส่วน D4 หมายถึงจำหน่ายได้ทั่วทั้งยุโรป ในหนึ่งแผ่นดีวีดีสามารถใส่รหัสโซนรวมกันได้หลายโซน โดยอาจมีรหัสโซน 3/6 เพื่อให้สามารถใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับจีน
3.สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป


เทปแม่เหล็ก (Megnetic Tape) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้กันมานานตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งและยุคที่สอง ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่เปลี่ยนจากการเล่น (play) และบันทัก (record) เป็นการอ่าน (read) และเขียน (write) แทน ในเครื่องเมนเฟรมเทปที่ใช้จะเป็นแบบม้วนเทป (reel-to-reel) ซึ่งเป็นวงล้อขนาดใหญ่ ในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้คาร์ทริดจ์เทป (cartidege tape) ซึ่งมีลักษณะคล้ายวีดีโอเทป ส่วนในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะใช้ตลับเทป (cassette tape) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเทปเพลง เทปทุกชนิดที่กล่าวมามีหลักการทำงานคล้ายกับเทปบันทึกเสียง คือจะอ่านข้อมูลตามลำดับก่อนหลังตามที่ได้บันทึกไว้ เรียกหลักการนี้ว่าการอ่านข้อมูลแบบลำดับ (sequential access) การทำงานลักษณะนี้จึงเป็นข้อเสียของการใช้เทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูล คือทำให้อ่านข้อมูลได้ช้า เนื่องจากต้องอ่านข้อมูลในม้วนเทปไปเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งที่ต้องการ ผู้ใช้จึงนิยมนำเทปแม่เหล็กมาสำรองข้อมูลเท่านั้น ส่วนข้อมูลที่กำลังใช้งานจะถูกเก็บอยู่บนหน่วยเก็บข้อมูลแบบ จานแม่เหล็ก (Megnetic Disk) เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย และนำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญและไม่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ มา เก็บสำรอง (back up) ไว้ในเทปแม่เหล็ก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล ข้อดีของเทปแม่เหล็กคือสามารถบันทุก อ่านและลบกี่ครั้งก็ได้ รวมทั้งมีราคาต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในสื่อที่มีขนาดใหญ่มากนัก ความจุของเทปแม่เหล็กจะมีหน่วยเป็น ไบต์ต่อนิ้ว (byte per inch) หรือ บีพีไอ (bpi) ซึ่งหมายถึงจำนวนตัวอักษรที่เก็บได้ในเทปยาวหนึ่งนิ้ว หรือเรียกได้อีกอย่างว่าความหนาแน่นของเทปแม่เหล็ก เทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นต่ำ จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 1,600 บีพีไอ ส่วนเทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นสูง จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 6,250 บีพีไอ นอกจากนี้ จะมีเทปแม่เหล็กรุ่นใหม่ ๆ คือ DAT (Digital Audio Tape) ซึ่งขนาดใหญ่กว่าเครดิตการ์ดเล็กน้อย แต่สามารถจุข้อมูลได้ 2 - 5 จิกะไบต์และ R-DATs ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 14 จิกะไบต์ บนเทปที่ยาว 90 เมตร การที่เทปแม่เหล็กยังคงได้รับความนิยมให้เป็นสื่อที่เก็บสำรองข้อมูล ก็เพราะความเร็ว ความจุข้อมูล และราคานั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น