วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ซอฟท์แวร์(software)กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มเติมให้นักเรียน

๑.บอกความหมายและประเภทของซอฟท์แวร์ได้


ตอบ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ต้องการ


สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ซอฟท์แวร์ระบบ ซอฟท์แวร์ประยุกต์


๒.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้


ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนามาหลายยุคเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมจัดแบ่งภาษคอมพิวเตอร์ออกเป็น ๕ ยุคตั้งแต่ยุคที่ ๑-๕โดยภาในยุคที่๑จะจัดอยู่ในภาระดับต่ำเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องทำให้สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงและพัฒนารูปแบบของภาษคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเรื่อยๆจนกระทั่งในยุคที่ ๕ เป็นรูปแบบภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษามนุษยมากขึ้นหรือที่เรียกว่าภาษาธรรมชาติ

๓.อธิบายรูปแบบของตัวแปลภาษาได้

ตอบ แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง

อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัดตลอดทั้งโปรแกรมทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็วแต่ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลโดยการใช้อินเตอร์พรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้จะจะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน

♦ คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลนั้นสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้นำไปใช้ในการทำงานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีของคอมไพเลอร์ที่จะนำผลที่ได้จากการแปลนั้นไปใช้งานกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้เป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโคดไปเป็นรหัสชั่วคราวหรืออินเทอมีเดียตโคด (Intermediate code)ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรมในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้นโดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องที่มีโปรแกรมตีความได้ทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น