วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้บทที่ ๕

๑.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตโดยให้หาความหมายของคำว่า open source และให้บอกซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ทที่รุ้จักในปัจจุบันมา ๓ ชนิด


ตอบ โอเพนซอร์ซ หรือ โอเพนซอร์ส (open source) คือวิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ โดยโอเพนซอร์ซถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โดยโอเพนซอร์ซเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป


ภาษาเพิร์ล เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp
ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.10.0 (ออกเมื่อเดือนธันวาคม 2007)
มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ และไคลเอนต์สำหรับโกเฟอร์และเอฟทีพี ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 2 รองจากอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552)
ไฟร์ฟอกซ์ใช้
เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว[9] โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ)
ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 3.6 ออกเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA
ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษา



ลินุกซ์ โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน
เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น
ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพกการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ
ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft






๒.ให้นักเรียนค้นหาซอฟท์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทยและให้บอกคุณสมบัติของซอฟท์แวร์ดังกล่าว


ตอบไอดิโอเทคฯ พัฒนา “ซอฟต์แวร์บริหารเครือข่ายอัจฉริยะ” แก้ปัญหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในอาคารใหญ่

ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตนับเป็นแหล่งความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อสื่อสารที่โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจ และ “อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ก็เกิดจากการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านั้นได้สะดวกยิ่งขึ้นกลุ่มคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงอดีตวิศวกรคอมพิวเตอร์ จึงมาร่วมกันจัดตั้ง บริษัท ไอดิโอเทค จำกัด ขึ้นเมื่อปี 2546 ด้วยปณิธานที่ว่า “อยากมีส่วนที่ทำให้ความรู้ไปถึงกลุ่มคนต่างๆ มากขึ้น” โดยสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งประกอบด้วย กฤษดา ทองเปล่งศรี, พงศ์พันธ์ ด่านพิษณุพันธ์ และพงศิศ เจริญ ซึ่งทั้ง 3 คน ร่วมกันเป็นกรรมการบริษัทฯบริษัท ไอดิโอเทค จำกัด เป็นผู้ให้บริการ ให้คำปรึกษา และติดตั้ง บริหาร จัดการดูแลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ผู้ใช้บริการภายในอาคาร อาทิ องค์กร โรงแรม คอนโดมิเนียม และ อพาร์ตเม้นต์หรือหอพัก สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้โดยง่ายและไม่สิ้นเปลืองคู่สัญญาณโทรศัพท์ภายใน รวมทั้งสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก โดยคุณภาพของสัญญาณมีความเร็วสม่ำเสมอ เสถียร ไร้ปัญหาสายหลุด และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อทั้งนี้ กฤษดา ทองเปล่งศรี หนึ่งในกรรมการ บริษัท ไอดิโอเทค จำกัด เล่าถึงจุดเริ่มต้นให้ฟังว่า จากอดีตที่เคยเป็นนักศึกษาหอพักมาก่อน และเคยประสบหลากหลายปัญหาจากการใช้อินเทอร์เน็ตของทางหอพักที่มีผู้ใช้งานพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก จึงได้มีแนวคิดในการแก้ปัญหาการใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ที่อยู่ในอาคารต่างๆการใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในอาคารมีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประสบปัญหาการแบ่งปันความเร็วในการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต (Internet Speed Sharing ) ที่มีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก โดยมีความเร็วไม่เท่ากันและไม่สม่ำเสมอ เพราะมักมีผู้ใช้งานส่วนหนึ่งดาวน์โหลดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา ทำให้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ต้องสูญเสียไปหรือตกไปอยู่ที่กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ใช้งานกลุ่มที่เหลือไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วน ถึงแม้ว่าทางเจ้าของอาคารหรือองค์กรจะพยายามแก้ปัญหาโดยการเช่าสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วที่สูงมากขึ้น 2 หรือ 3 เท่าแล้ว ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด อีกทั้งยังทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายต่อปีเป็นมูลค่าสูงโดยไม่จำเป็นแล้วหรือแม้แต่การนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware) จากต่างประเทศมาช่วยควบคุมคุณภาพการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาได้ แต่อุปกรณ์เหล่านั้นมีราคาแพงและรูปแบบการปรับความเร็วยังมีจำกัด ไม่เหมาะต่อการทำ Quality of Services ที่สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งต้องแก้ปัญหาในเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม ไม่ใช่ความเร็วในการต่อเชื่อมที่ไม่เพียงพอดังนั้น บริษัทฯ จึงได้คิด “พัฒนาระบบโปรแกรมบริหารจัดการและควบคุมทรัพยากรอินเทอร์เน็ตที่มีความสามารถสูง” ขึ้นทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จากต่างประเทศที่มีราคาสูง โดยการพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจาก โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)โดยทาง iTAP ได้สนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายสำหรับ นายกรพรหม ถิระวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการเกษตรและการจัดการทรัพยากร ที่เข้ามาให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรมระบบบริหารจัดการและควบคุมทรัพยากรอินเทอร์เน็ตจนประสบผลสำเร็จ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทฯสำหรับคุณสมบัติของซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นนี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จากต่างประเทศที่มีราคาแพง (เฉลี่ยประมาณหลักแสนบาท) ขณะที่ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมีราคาถูกกว่า (เฉลี่ยประมาณหลักหมื่นบาท) แล้ว ยังมีคุณสมบัติการใช้งานมากกว่า อาทิ สามารถควบคุมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้อยู่ในความเร็วที่คงที่สม่ำเสมอ มีระบบจัดรูปแบบการใช้งานอินเทอร์เน็ต คือ สามารถจัดรูปแบบการบริการอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ที่ต้องการใช้ความเร็วที่สูงกว่าห้องอื่นๆ ได้ โดยไม่ไปรบกวนความเร็วการใช้อินเทอร์เน็ตของคนอื่น นอกจากนี้ ยังมีระบบการคิดราคา ระบบการออกรายงาน และระบบการตรวจสอบ หรือ Network Monitor Bandwidth ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ฮาร์ดแวร์ไม่มีดร.ศิริชัย กิตติวราพงศ์ ที่ปรึกษาเทคโนโลยี โครงการ iTAP ให้ความเห็นว่า ระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าว บริษัทใหญ่ๆ เช่น ไมโครซอฟต์หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทยไม่สามารถที่จะเข้ามาเป็นผู้ให้บริการและดูแลในรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ได้ จึงเป็นช่องว่างที่ให้ บริษัท ไอดิโอเทค จำกัด สบโอกาสทางการตลาดเข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์ทดแทนการใช้ฮาร์ดแวร์เป็นรายแรกของไทย เรียกได้ว่าเป็น “ระบบฉลาด หรือ ระบบอัจฉริยะ” ที่ทำให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถล็อคความเร็วได้ ทำให้ผู้ใช้บริการยินดีจ่ายในราคาที่เท่ากันหรืออาจจะแพงขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการความเร็วที่สูงขึ้นอีก ซึ่งระบบนี้สามารถการันตีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของผู้ใช้แต่ละคนว่าจะได้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอคงที่แน่นอน นอกจากนี้ ยังได้ถูกพัฒนาในรูปแบบ Zero Configuration หรือไม่ต้องปรับตั้งค่าใดๆ ก็ใช้งานได้เลย เพื่อรองรับการใช้งานของโน๊ตบุ๊คจากภายนอกเข้ามาใช้ภายในอาคารที่ทางไอดิโอเทคทำระบบให้ โดยสามารถเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการเซ็ตหรือแก้ไขค่าใดๆ สำหรับโปรแกรมท่องเน็ตอีก ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวหรือนักธุรกิจต่างประเทศที่ต้องเดินทางตลอดเวลา ในอนาคตยังสามารถให้บริการกับเครือข่ายไร้สายได้อีกด้วย ถือเป็นระบบที่สามารถให้บริการได้หลายรูปแบบ จึงเป็นเรื่องที่ดีช่วยลดการรั่วไหลเงินออกนอกประเทศได้อย่างมหาศาล และมองว่าเจ้าของอาคารต่างๆ จะสามารถให้บริการเข้าอินเทอร์เน็ตถึงห้องพักได้อย่างดี เป็นบริการที่ส่งเสริมธุรกิจได้โดยตรง

๓.ให้นักเรียนค้นหาข้อมุลความรุ้เกี่ยวกับธุรกิจซอฟท์แวร์ที่ได้บังคับใช้ในปัจจุบัน

คือลิขสิทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆโดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์สนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง[1]
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
Commercial ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่มุ่งในเรื่องการค้า เพราะการจะได้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทCommercial ware มาใช้นั้นผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้Commercial ware มีการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์อย่างเต็มที
Share ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เปิดโอกาสให้มีการทดลองใช้ก่อน เมื่อผู้บริโภคสนใจที่จะใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้น เจ้าของโปรแกรมหรือ ผู้พัฒนาโปรแกรมจะทำการเก็บเงินในการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นๆ[3][4]Share ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นเดียวกับ Commercial ware
Ad ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี แต่ก็มีการเก็บเงินบ้างเป็นบางครั้ง บวกกับการโฆษณาบนเว็บไซต์[5] Ad ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นกัน
Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าตอบแทนแต่อย่างได้ และสามารถนำโปรแกรมประเภทFree wareส่งต่อให้ผู้อื่นใช้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่มีการนำโปรแกรมนั้นไปขาย[6] Free ware มีการคุ้มครองน้อยหรือมีการคุมครองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันพัฒนาโปรแกรมประเภทOpen sourceได้อีกด้วยโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก่ไขโปรแกรมนั้นๆ

๔.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ของซอฟท์แวรืต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอนซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่เห้นด้วยอย่างไร

ตอบ เห็นด้วย เพราะซอฟท์แวร์ที่เราเรียนอยู่นั้นได้เกิดจากความคิดของผู้พัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น