วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่7การจัดการข้อมูล

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
๑.จำแนกประเภทของหน่วยข้อมูลได้
ตอบ๑.บิต
๒..อักขระ
๓. ไบต์
๔..ฟิลด์
๕.เรกคอร์ด
๖ไฟล์
๗.ฐานข้อมูล
๒. อธิบายประเภทแฟ้มข้อมูลได้
ตอบ๑.แฟ้มข้อมูลหลัก เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ แฟ้มข้อมูลบัญชี เป็นต้น ซึ่งแฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี
๒.แฟ้มรายการปรับปรุง เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

๓.อธิบายลักษณะของการประมวลผลได้
ตอบวิธีการประมวลผล (Processing Technique) การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการประมวลผลทางธุรกิจนั้นมีวิธีการประมวลผลได้หลายแบบดังนี้
1. การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing) คือ การประมวลผลโดยผู้ใช้จะทำการรวบรวมเอกสารที่ต้องการประมวลผลไว้เป็นชุดๆ ซึ่งแต่ละชุดอาจจะกำหนดเท่ากับเอกสาร 10 หรือ 20 รายการหรือมากกว่าก็ได้แต่ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วป้อนข้อมูลดังกล่าวสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงใช้คำสั่งให้ประมวลผลพร้อมกันที่ละชุดตัวอย่าง บริษัทหนึ่งอาจจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อออกบิลโดยมีการรวบรวมใบสั่งซื้อจากลูกค้าภายในหนึ่งวันจากแผนกขาย จากนั้นก็ส่งให้แผนกคอมพิวเตอร์ทำการป้อนข้อมูลและตรวจสอบความ ถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะเก็บบันทึกไว้ จากนั้นก็จะนำข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล ซึ่งอาจจะต้องอาศัยแฟ้มข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการประมวลผล เช่น แฟ้ม ข้อมูลสินค้าคงเหลือ แฟ้มข้อมูลลูกหนี้ กรณีลูกค้าซื้อเงินเชื่อและแฟ้มประวัติลูกค้า เป็นต้น จากนั้นก็จะนำข้อมูล ดังกล่าวไปประมวลผล ซึ่งอาจจะต้องอาศัยแฟ้มข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการประมวลผล เช่น แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ แฟ้ม ข้อมูลลูกหนี้ กรณีลูกค้าซื้อ เงินเชื่อและแฟ้มประวัติลูกค้า เป็นต้น จากนั้นจึงออกบิลเพื่อส่งต่อให้กับผู้ขายเพื่อเบิกสินต้าที่แผนกพัสดุ สินค้าหรือโกดัง (Warehouse) พิจารณา แสดงข้อดีและข้อเสียของการประมวลผลแบบชุด
รูปแสดงขั้นตอนการรวบรวมบิลเป็นชุดก่อนประมวลผลแบบชุด
้ข้อดีของการทำงานแบบชุด
ข้อเสียของการทำงานแบบชุด
1. เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณงาน มากแต่ไม่จำเป็นต้องบริการข้อมูลทันทีทันใด
1. เสียเวลาในการข้อมูลที่ต้องการทันทีทันใด อาจจะไม่ทันสมัย(Update) เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลจะทำเป็นช่วงๆ ปรับปรุงในกรณีที่มีรายการ ปรับปรุงน้อยเพราะจะต้องอ่านทุกรายการจนกว่า จะถึงรายการที่ต้องการปรับปรุง
2. ง่ายต่อการตรวจสอบ หากข้อมูลผิดพลาด สามารถตรวจสอบเฉพาะชุดของข้อมูลที่ผิดพลาด
2. เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ก่อนจะทำการ ประมวลผล


2. การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive)
หมายถึง การทำงานในลักษณะที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา เช่น กรณีที่ลูกค้า นายวัลลภ คลองหก จากบริษัทราชมงคล จำกัด ติดต่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผนกขาย เจ้าหน้าที่พนักงานขายจะต้องป้อนรหัสลูกค้าเพื่อเรียกประวัตินายวัลลภขึ้นมาพิจารณาว่าในขณะนี้ได้สั่งซื้อสินค้าเกินวงเงินเครดิตหรือไม่ ถ้าไม่เกินก็อนุมัติการขายแต่ถ้าหากเกินก็อาจจะให้ชำระเป็นเงินสด จากนั้นจะมีการตรวจสอบแฟ้มสินค้าคงคลังว่ามีสินค้าดังกล่าวหรือไม่เพื่อตัดสต็อก (Stock) แล้วพิมพ์บิลเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า แสดงการทำงานการออกบิลโดยการประมวลผลแบบโต้ตอบ

้ข้อดีของการทำงานแบบโต้ตอบ
ข้อเสียของการทำงานแบบโต้ตอบ
1. สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ป้อนทันทีทันใดด
1. โอกาสผิดพลาดมีมากกว่าวิธีแบบชุดเนื่องจากการ ตรวจทานที่หน้าจอภาพอาจจะทำให้ผู้ตรวจตาลาย
2. สารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที
2. การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยากกว่า
3. ได้รับผลลัพธ์ที่ทันสมัย
3. การประมวลผลแบบออนไลน์ (Online processing) คือ การประมวลผลร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ ต่อพ่วงกับระบบสื่อสาร (Communication) โดยอาศัยอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น โมเด็ม (Modem) ซึ่งลักษณะการทำงานอาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อพ่วงกันในระบบเครือข่าย (Network) ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ ขนาดกลางหรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กันแต่สามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันได้โดยมีการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างกัน ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์เราอาจจะสร้างเครือข่ายในลักษณะเครือขายเฉพาะ (Local Area Network(LAN) ซึ่งเป็นเครือข่ายใกล้ๆ หรืออาจสร้างเครือข่ายงานกว้าง [Wide Area Network(WAN) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันมากแต่เชื่อมต่อกันได้โดยระบบ โทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์หรือดาวเทียม ในเชิงธุรกิจกรณีที่พนักงานขายอยู่ต่างจังหวัดและจะส่งใบสั่งซื้อของลูกค้า เข้ามาที่สำนักงานใหญ่ก็สามารถทำได้โดยส่งข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์แล้วพิมพ์บิลทีสำนักงาน จากนั้นก็จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าตามใบสั่ง
๔.จำแนกความแตกต่างของโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภทได้
ตอบ แบ่งออกได้ ๓ ลักษณะคือ
๑.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ เป็นรุปแบบโครงสร้างพื้นบ้านที่สามารถใช้งานง่ายที่สุด
๒.โครงสร้างแฟ้มข้อมุลแบบสุ่มเป้นรูปแบบโครงสร้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
๓.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบลำดับดัชนี เป้นรูปแบบโครงสร้างที่รวมความสามารถของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับรับข้อมุลแบบสุ่มไว้ด้วยกัน
๕.จำแนกความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลได้
ตอบ แฟ้มข้อมูลจะมีการประมวลผลในแต่ละประเภทที่รู้แตกต่างกันออกไป แต่ระบบฐานข้อมูลจะประมวลที่ละหลายๆแฟ้มข้อมูลพร้อมกันเลย
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
๑.ครูนำเอกสารตัวอย่างที่มีการกรอกข้อมูลไว้แล้ว หรือยกตัวอย่างข้อมูล เช่น ข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนแต่ละวิชาในชั้นเรียน แล้วให้เรียนตอบคำถามรายบุคคล โดยให้ดูจากข้อมูล แล้วตอบว่าส่วนใดคือฟิลด์ เรกคอร์ดไฟล์ หรือไบต์
ตอบ รหัสประจำตัวบัตรประชาชนคือ ฟิลด์ข้อมูลคือ เรกคอร์ดไฟล์ข้อมูลของเราคือ ไบต์
๒.ให้นักเรียนตอบคำถามเป็นรายบุคคล เมื่อครูยกตัวอย่างกรณีศึกษาว่า ถ้าต้องการนำข้อมูลนักเรียนนั้นไปจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับงานทะเบียน ในการบันทึกผลคะแนนให้แก่นักเรียนแต่ละบุคคล และสำหรับงานปกครอง เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูล นักเรียนที่มาสาย ลา หรือขาดเรียน เราควรจะประมวลผลข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลหรือแบบฐานข้อมูล
ตอบ แบบแฟ้มข้อมูล เพราะ เป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย
๓.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องทำการสำรองข้อมูล และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองโดยอุปกรณ์ใดบ้าง และปัจจัยในการเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดใดสำหรับสำรองข้อมูล
ตอบ เราต้องทำข้อมูลสำรองเพราะ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับข้อมูล เมื่อข้อมูลเหล่านั้นเสียหายหรือสูญเสีย ก็สามารถนำข้อมูลสำรองมาใช้แทนได้อุปกรณ์ที่ใช้สำรองข้อมูล คือ ฮาร์ดดิสก์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น