วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

การเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

การเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

ในการศึกษาทางอนุกรมวิธานพืช มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บตัวอย่างพรรณไม้และเก็บรักษาไว้เพื่อการศึกษา วิธีเก็บรักษาตัวอย่างวิธีที่ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดคือ การอัดแห้ง แม้ว่าการอัดแห้งจะทำให้ความสวยงามของตัวอย่างพรรณไม้ลดลง แต่ก็ยังคงคุณค่าทางวิทยาศาสตร์สามารถเก็บไว้ศึกษาได้นานเป็นร้อยปี ถ้าได้มีการจัดทำและเก็บรักษาอย่างถูกวิธี

ประโยชน์ของการเก็บและรักษาตัวอย่างพรรณไม้

1.1 เป็นหลักฐานว่าในแต่ละท้องถิ่นมีพืชชนิดใดบ้าง
1.2 เป็นข้อมูลให้ทราบว่าในแต่ละช่วงเวลามีพืชชนิดใด
1.3 ทำให้สามารถศึกษาพืชนั้น ๆ ได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นช่วงฤดูเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะพืชป่าหรือพืชที่หายาก
1.4 มีข้อมูลจากป้ายบันทึกที่ติดอยู่บนตัวอย่างมากกว่าที่ศึกษาจากต้นพืช
1.5 ตัวอย่างพืชที่อัดแห้งและทราบชื่อที่ถูกต้องแล้ว เรียกว่า ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ herbarium specimen ซึ่งบางคนอาจเรียกย่อ ๆ ว่า herbarium ( พหูพจน์ herbaria ที่จริงแล้วคำนี้หมายถึงสถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้แห้ง หรือ พิพิธภัณฑ์พืช นั่นเอง ) สามารถใช้อ้างอิงได้เหมือนหนังสือ

การเก็บและอัดตัวอย่างพรรณไม้
2.1 อุปกรณ์
1) แผงอัดพรรณไม้( plant press ) ขนาด 30 x 46 ซม. หรือ 12 x18 นิ้ว 1 คู่ (ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ไผ่ สานกันเป็นตาราง ตอกตะปูยึดให้ติดกัน)
2) เอกสำหรับรัดแผงอัด 2 เส้น ( นิยมใช้เชือกไส้ตะเกียง )
3) กรรไกรตัดกิ่งไม้หรือมีด
4) กระดาษอัดพรรณไม้ นิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เป็นคู่พับครึ่งสำหรับวางตัวอย่างพรรณไม้ที่จะอัด
5) กระดาษลูกฟูก หรือกระดาษกล่อง ใช้สำหรับคั่นระหว่างตัวอย่างพรรณไม้แต่ละชิ้นเพื่อให้พรรณไม้เรียบ และระบายความชื้นได้ดี
6) ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ – เล็ก พร้อมยางรัดปากถุง
7) สมุดบันทึกและป้ายหมายเลขผูกตัวอย่างพรรณไม้

2.2 วิธีการเก็บ
1) เลือกกิ่งที่มีใบ ดอก และผล ( ถ้ามี )ที่สมบูรณ์ที่สุด 2 – 3 กิ่ง ต่อพรรณไม้ 1 ชนิด แล้วใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หรือมีดคม ๆ ตัด
2) ถ้าเป็นพืชมีใบเดี่ยวควรตัดกิ่งมาด้วย ถ้าเป็นใบประกอบต้องตัดมาให้หมดทั้งใบจะตัดมาเฉพาะใบย่อยไม่ได้
3) ถ้าเป็นพรรณไม้ล้มลุกควรเก็บถอนมาทั้งรากและต้น ถ้ามีความยาวเกินขนาดของแผ่นกระดาษ เวลาอัดอาจพับใบและต้นให้มีลักษณะคล้ายรูป L M N V หรือ W ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม
4) ระหว่างตัด เก็บตัวอย่าง ควรผูกป้ายหมายเลขลำดับประจำตัวอย่างไว้ด้วย พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลอย่างละเอียดลงในสมุดบันทึกดังนี้
· ท้องที่ที่เก็บ ( Locality ) บันทึกรายละเอียดของจังหวัด อำเภอ ตำบล ถนน หรือท้องที่ป่า
· ความสูงจากระดับน้ำทะเล( altitude ) โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าอัลติมิเตอร์ ( altimeter )
· วันเดือนปีที่เก็บ ( date )
· ชื่อพื้นเมือง ( Local name )
· ข้อมูลอื่น ๆ ( note ) ลักษณะของพืชที่ ลักษณะวิสัยของพืช ความสูงของต้น ลักษณะของพืชที่อาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อตัวอย่างแห้ง เช่น สี กลิ่น เป็นต้น พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่นนั้น ๆ
· ชื่อผู้เก็บ (collector ) และหมายเลขที่เก็บ ( collecting number ) แต่ละคนจะใช้หมายเลขของตนเรียงลำดับติดต่อกันไป

2.3 วิธีการอัดแห้ง
นำตัวอย่างพรรณไม้มาทำความสะอาด แล้ววางลงบนด้านในของกระดาษหนังสือพิมพ์ที่พับครึ่งไว้ จัดแต่งให้สวยงามให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ถ้าต้องตัดใบ หรือกิ่งย่อยที่เกินออก ควรตัดเหลือโคนใบหรือโคนกิ่งไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาในภายหลัง จัดให้ใบและดอกคว่ำบ้าง หงายบ้าง จากนั้นจึงปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก ทำซ้อน ๆ กัน เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดตัวอย่าง หรือตั้งสูงพอประมาณ ก็ปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูกทั้งด้านบนและด้านล่าง ก่อนที่จะปิดด้วยแผงอัดพรรณไม้ เสร็จแล้วใช้เชือกรัดให้แน่น นำไปตากแดดโดยการตั้งแผงอัดพรรณไม้ขึ้น ถ้าแดดจัดตัวอย่างพรรณไม้จะแห้งภายใน 3 – 5 วัน หรืออาจจะนำไปอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 40- 60 องศาเซลเซียส ประมาณ 48 ชั่วโมง ระหว่างนี้ต้องหมั่นเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันมิให้ตัวอย่างตายนึ่ง เน่า หรือเกิดเชื้อราได้
อนึ่งถ้าตัวอย่างพรรณไม้มีดอกขนาดใหญ่ควรผ่าครึ่งดอกตามยาว ผลที่มีขนาดใหญ่ควรตัดผลเป็นแผ่นตามยาวหรือตามขวางแล้วจึงค่อยนำไปทำให้แห้ง จะช่วยให้แห้งได้เร็วขึ้นส่วนของกลีบดอกที่บางมาก ๆ ควรวางในกระดาษไข เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกติดบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ในกรณีที่พรรณไม้มีดอกและใบติดบนกิ่งที่มีขนาดใหญ่เมื่ออัดแห้งเสร็จแล้วดอกและใบมักร่วงหลุดออกจากกิ่ง เนื่องจากถูกแรงอัดของแผงอัดหรือดอกและใบไม่เรียบเนื่องจากมีกิ่งหนุนอยู่ ทำให้แผ่นใบและกลีบดอกไม่ได้ถูกทับให้เรียบ ดังนั้นเมื่ออัดตัวอย่างประเภทนี้ จึงควรใช้กระดาษพับเป็นชิ้นให้มีขนาดและความหนาพอดีที่จะหนุนให้ใบและดอกอยู่ระดับเดียวกับกิ่งที่มีขนาดใหญ่นั้น จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
ถ้าไม่สามารถอัดตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาได้ให้เสร็จในคราวเดียวกันควรรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในถุงพลาสติกที่ใส่น้ำไว้ในก้นถุงเล็กน้อยและเป่าลมให้ถุงพองออก รัดปากถุงด้วยยางรัดให้แน่นเก็บไว้ในที่ร่มหรือในตู้เย็นได้ 1 – 2 วัน แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรอัดและทำให้แห้งทันทีหลังจากที่เก็บมาแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 – 6 ชม. เพราะอาจทำให้ตัวอย่างเน่าเสียหายได้

2.4 การอาบน้ำยา
ก่อนที่จะนำตัวอย่างพรรณไม้ที่ทำให้แห้งแล้วไปติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้ควรอาบน้ำยาก่อนเพื่อป้องกันแมลงศัตรูมากัดทำลาย จะช่วยให้เก็บรักษาตัวอย่างพรรณไม้แห้งไว้ได้นาน
2.4.1. อุปกรณ์
1) อ่างเคลือบ หรือ อ่างพลาสติก ขนาด 12 x 20 นิ้ว 1 ใบ
2) ปากคีบพลาสติก หรือ ไม้ที่มีด้ามยาว 1 – 2 อัน
3) ถุงมือ 1 คู่ ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสน้ำยา
4) หน้ากากป้องกันกลิ่น
5) น้ำยาอาบพรรณไม้ ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้
ฟีนอล 20 มิลลิลิตร
เมอคิวริกคลอไรด์ 28 กรัม
แอลกอฮอล์ล 95 % 1 ลิตร

ข้อควรระวัง น้ำยาอาบพรรณไม้นี้เป็นพิษต่อร่างกาย ไม่ควรสูดดมหรือสัมผัสถูกร่างกาย เวลาใช้ควรใส่หน้ากากและถุงมือ หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะจะถูกน้ำยากัดจนเสียหายได้ และไม่ควรเทน้ำยาผ่านท่อระบายน้ำ
2.4.2 วิธีการ
1) เทน้ำยาอาบพรรณไม้ลงในอ่างเคลือบ
2) นำตัวอย่างพรรณไม้ที่แห้งสนิทดีแล้วแช่ลงในน้ำยาประมาณ 1 นาที ให้น้ำยาท่วมตัวอย่าง
3) ใช้ปากคีบ คีบตัวอย่างมาวางลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ วางเรียงซ้อนกัน แล้วคั่นและปิดทับด้วยกระดาษลูกฟูก นำเข้าแผงอัดพรรณไม้เหมือนตอนที่อัดตัวอย่าง
4) มัดแผงให้แน่น แล้วนำไปตากแดดหรืออบให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง

การติดตัวอย่างบนกระดาษติดพรรณไม้

เพื่อความคงทนถาวรของตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และเพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบในการเก็บรักษา ควรนำตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่อาบน้ำยาแล้วไปเย็บติดลงบนกระดาษติดพรรณไม้ 2.5.1 อุปกรณ์
1) กระดาษติดพรรณไม้สีขาวขนาด 11.5 x 16.5 นิ้ว พร้อมปก
2) กระดาษป้ายบันทึกข้อมูล ขนาด 4 x 6 นิ้ว
3) ด้ายเส้นใหญ่ เข็ม หรือกาว 2.5.2 วิธีการ
1) เลือกตัวอย่างพรรณไม้ที่อาบน้ำยาและทำให้แห้งแล้วชิ้นที่ดีและครบสมบูรณ์ที่สุดของแต่ละชนิด มาวางบนกระดาษติดแผ่นไม้
2) จัดตำแหน่งให้เหมาะสม และสวยงาม อย่าให้มีส่วนของพืชเลยขอบกระดาษออกมา
3) ใช้เข็มเย็บตรึงด้วยด้ายเป็นระยะๆ บางตำแหน่งอาจใช้กาวอย่างดีติดตรึงไว้ก็ได้ เช่น แผ่นใบ กลีบดอก เมื่อกาวติดแล้วควรใช้วัตถุหนักๆ ทับเพื่อช่วยพรรณไม้ติดแน่นยิ่งขึ้น
ถ้าต้องการติดตัวอย่างพรรณไม้หลายชิ้นบนกระดาษแผ่นเดียวกัน ( ส่วนมากเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก) ควรติดให้อยู่ในทิศทางเดียงกันและควรติดชิ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทางด้านล่างของกระดาษ ถ้าเป็นตัวอย่างพืชที่มีส่วนของดอก ผล หรือ เมล็ดน้อย หายาก ขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย ให้บรรจุชิ้นส่วนดังกล่าวในซองที่ตัดและพับด้วยกระดาษสีขาวและติดซองนี้บนกระดาษติดแผ่นไม้ในตำแหน่งที่สวยงามและเหมาะสม
การติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้

หลังจากติดตัวอย่างพรรณไม้ลงบนกระดาษตอดพรรณไม้เรียบร้อยแล้ว จะติดป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ขนาดประมาณ 4 x 6 นิ้ว ที่มุมขวาด้านล่างของกระดาษติดตัวอย่างพรรณไม้ข้อมูลที่จะบันทึกลงบนป้ายบันทึกลักษณะพรรณไม้ ประกอบด้วย
1) หัวกระดาษ (heading) ชื่อหน่วยงาน จังหวัด ประเทศ
2) ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) พร้อมทั้งชื่อผู้ที่ตั้ง
3) ชื่อพื้นเมือง (local name)
4)สถานที่เก็บ(location,locality) ควรบอกให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การกระจายพันธุ์ ของพรรณไม้นั้น และในกรณีที่ต้องการตัวอย่างสดมาศึกษาวิจัยก็สามารถที่ติดตามแหล่งที่พืชนั้นเจริญอยู่ได้
5) วันเดือนปี ที่เก็บ ( date )
6) ลักษณะของพืชที่สังเกตเห็น (remark , note) เช่น
- habit ลักษณะของทรงพุ่ม เรือนยอด เปลือก ไม้ต้น ไม้ล้มลุก
- habitat ที่อยู่อาศัย ลักษณะสภาพของพื้นที่ที่พืชนั้นขึ้นอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น